ผลการพัฒนาศักยภาพครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้ กระบวนการพยาบาลครอบครัว และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • สุณิสา คำประสิทธิ์ โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาลครอบครัว, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัวและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 20 คน และครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 20 คนโดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว  แบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 

ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกครอบครัวเบาหวานชนิดที่ 2ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัว และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัว และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  มีความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การปฏิบัติบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการพยาบาลครอบครัวและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยและครอบครัว ในเรื่องความรู้เจตคติ และบทบาทการดูแลตนเอง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้องนำกระบวนดังกล่าว ไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค. (2560). รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว : แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง.

Friedman M. (2003). Family nursing : Research theory and pactice. 5th ed. Connecticut: AppletonCenturycrofit.

BartolT.(2002). Education Patients: Diabetes self care. The 2002 Source book for Advance Practice Nurse, 9(3):16-55.

ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. (2551). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในอําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรรณิกา โคตรบรรเทา. (2551). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ความรู้และพฤติกรรมสนับสนุนของครอบครัว โรงพยาบาลเชียงคาน.[การศึกษาอิสระหลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์].ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงเยาว์ ใบยา, ชุมพร ฉ่ำแสง, น้ำทิพย์ แพ้ชัยภูมิ, จาตุรนต์ ตั้งสังวรธรรมะ.(2556). รายงานการวิจัยผลของโปรแกรมการพยาบาลครอบครัวตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยต่อพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมสุขภาพครอบครัวในการดูแลสุขภาพผู้ป่วย. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานติ์. (2540). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Keogh M, Smith M, White P, McGilloway S, Kelly A, Gibney J, O'Dowd T. (2011). Psychological family intervention for poorly controlled type 2 diabetes.Am J Manag Care, 17(2):105-13.

จุฑามาส จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวัฒน์ และ นิรัตน์ อิมานี. (2559). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2):69-83.

รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. (2554). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(2):279-92.

จันทร์ฉาย จารนัย, ผจงจิต ไกรถาวร, นพวรรณ เปียชื่อ. (2559). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน.วารสารเกื้อการุณย์, 23(1):41-59.

Pamungkas A, Chamroonsawasdi K, Vatanasomboon P. (2017). A Systematic Review: Family Support Integrated with Diabetes Self-Management among Uncontrolled Type II Diabetes ellitus Patients.BehavSci, 7(3):62-74.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25