ผลการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากด้วยการใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูงในโรงพยาบาลหนองบัวแดง
คำสำคัญ:
เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง, ภาวะหายใจลำบาก, การรักษาโดยการให้ออกซิเจนบทคัดย่อ
บทนำ : โรงพยาบาลหนองบัวแดงมีผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากจากสาเหตุต่างๆจำนวนมาก บางรายมีอาการรุนแรงจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง หรือ High flow nasal cannula (HFNC) ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากในโรงพยาบาลหนองบัวแดง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยจากข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลหนองบัวแดง ด้วยภาวะหายใจลำบากและได้รับการรักษาโดยใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง ในระหว่าง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย โดยวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ย และร้อยละ
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง จำนวน 36 ราย เป็นเพศชาย 22 ราย (ร้อยละ61.11) เป็นเพศหญิง 14 ราย (ร้อยละ 38.89) ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุดคือ 1 วัน และมากที่สุดคือ 7 ปี อายุเฉลี่ย 1 ปี 8 เดือน น้ำหนักของผู้ป่วยที่น้อยที่สุดคือ 2.6 กิโลกรัม และน้ำหนักที่มากที่สุดคือ 28.7 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นโรคปอดอักเสบ (ร้อยละ 88.89) มีผู้ป่วยที่อาการดีขึ้น จำนวน 34 ราย (ร้อยละ 94.44) และมีผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการรักษาจนต้องเปลี่ยนมาใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก 2 ราย
สรุป: การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากโดยใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูงหลังให้ 2 ชั่วโมงส่งผลให้อาการดีขึ้น สามารถลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
เอกสารอ้างอิง
เฉลิมไทยเอกศิลป์. การรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula ในเด็ก. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, [บรรณาธิการ]. The Acute Care. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ ไพรช์, 2558:387-96.
Kesavan S, Ramachandran B. Humidified High-Flow Cannula Oxygen Therapy in Children-A narrative review. J Pediatr Intensive Care, 2016;3(4):29-34.
ศศิวิมล สุ่นสวัสดิ์. การศึกษาการใช้ High-flow Nasal Cannula เปรียบเทียบกับการใช้ Nasal Continuous Positive Airway Pressure (NCPAP) ในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ และเพื่อช่วยถอนการใช้ continuous positive airway pressure (NCPAP). [อินเทอร์เน็ต]. 2563. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaipediatrics.org/thesis/pdf/0001/Sasivimon_Soonsawad.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565].
อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 2562;58(3):175-80.
Brick FT, Duke T, Evans J. High-flow nasal prong oxygen therapy or nasopharyngeal continuous positive airway pressure for children with moderate to severe respiratory distress. PediatrCrit Care Med, 2013;14(7):326-31.
สิริรัตน์ คำแมน. ผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Non-invasive ventilator ชนิด high flow nasal cannula ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลแม่สอด. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. เข้าถึงได้จาก : http://203.157.71.172/academic/web/files/2563/r2r/MA2563-001-02-0000000192-0000000078.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565].
Milani GP, Plebani AM, Arturi E, Brusa D, Esposito S, Era LD, et al. Using a high-flow nasal cannula provided superior results to low-flow oxygen delivery in moderate to severe bronchiolitis. Acta Paediatr, 2016;105(8):368-72.
ภัณฑิลา สิทธิการค้า. การศึกษาเปรียบเทียบการ รักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลําบากด้วยการ ให้High flow nasal cannula กับ การรักษาด้วย ออกซิเจนตามการรักษาปกติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaipedlung.org/download/chula_ panthila_edited.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565].
วิฌาน บุญจินดาทรัพท์. Low Flow and High Flow Oxygen Therapy in children. ใน:สนิตรา ศิริธางกุล, วนิดา เปาอินทร์, พนิดา ศรีสันต์, หฤทัย กมลาภรณ์, [บรรณาธิการ]. Pediatric Respiratory Distress in Daily Practice. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์, 2561:207-16.
สญุมพร ชอบธรรม, พรมนัส พันธุ์สุจริตไทย.
ผลกระทบทางคลินิกของการใช้ออกซิเจนเสริม ชนิดอัตราการไหลสูงต่อการรักษาผู้ป่วยเด็ก ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 2562;58:88-94.
Ingvilid BM, Peter D, Knut O. High flow nasal
canula in children: a literature review. Scand J Trauma Resusc Emerg Med, 2016;24:93.
Ji – Won K. High –flow nasal canula oxygen therapy in children: a clinical review. Clin Exp Pediatr, 2020;63(1):3-7.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.