การศึกษาปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ยาเหลือใช้, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
บทนำ งานเภสัชกรรมปฐมภูมิเป็นงานบริการเภสัชกรรมแบบองค์รวม ผสมผสานต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยทำงานร่วมกับทีมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหา และสาเหตุยาเหลือใช้ ในผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านเขว้า
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ และศึกษาปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านเขว้า ในช่วงวันที่ 15 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2564 จำนวน 313 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และระยะที่ 2 ศึกษาปัญหา และสาเหตุยาเหลือใช้จากการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วย ที่มียาเหลือใช้มากกว่า 4 รายการ ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 6 สิงหาคม 2564 จำนวน 20 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม INHOMESSS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 313 ราย นำยามาคืน 44 ราย ร้อยละ14.06 ซึ่งในผู้ป่วย 313 รายนี้เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.11 อายุเฉลี่ย 61.67±9.91 ปี ระยะเวลาการเจ็บป่วยมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 66.13 ยาที่นำมาคืนมากที่สุดคือ Metformin 500 mg Hydralazine 25 mg Losartan 50 mg Simvastatin20 mg และGlipizide 5 mg ร้อยละ 25.13, 16.50, 11.42, 9.14 และ7.61 ตามลำดับ ระยะที่ 2 จากการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหายาเหลือใช้มากกว่า 4 รายการ จำนวน 20 ราย พบว่าเป็นเพศหญิง 16 ราย (ร้อยละ 80.00) อายุเฉลี่ย 61.65±9.33 ปี สาเหตุของยาเหลือใช้ส่วนใหญ่มาจาก แพทย์สั่งยาเกินวันนัด 8 ราย(ร้อยละ 36.36)ผู้ป่วยลืมรับประทานยา 6 ราย(ร้อยละ27.27)และ ผู้ป่วยปรับยาเอง 3 ราย(ร้อยละ 13.63)
สรุป : ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มียาเหลือใช้มากกว่า 4 รายการ มีสาเหตุมาจากแพทย์สั่งยาเกินวันนัด ผู้ป่วยลืมรับประทาน และปรับยาเอง
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562.เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/strategymoph61_v10.pdf [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2564].
ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย.[อินเตอร์เน็ต.2560. เข้าถึงได้จาก: https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2564]
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ระบบยาของประเทศไทย 2563 Thai drug system 2020. กรุงเทพ: คณะกรรมการจัดทำรายงานระบบยาของประเทศไทย 2563 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564.
พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์. ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร ในทีมหมอครอบครัว ของเครือข่ายสุขภาพพรหมคีรี.วารสารเภสัชกรรมไทย, 2560;9(1):103-10.
คณะทำงานจัดทำคู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. 2560.
วิภาดา ปุณณภาไพศาล, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, กฤษณี สระมุณี. การออกแบบระบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการวิเคราะห์สาเหตุราก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2561;10(2):300-14.
พุทธชาติ ฉันทภัทรางกูร, ศิระพร ทองโปร่ง, มนูญ ทองมี. ผลการสำรวจยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 2561;3(1):119-25.
พรชิตา ศิรินวเสถียร. ประสิทธิภาพการจัดการยาเหลือใช้ ของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคพิเศษ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2561;15(2):111-8.
ช่อทิพย์ จันทรา, จินดา ม่วงแก่น. การศึกษาสาเหตุการนำยาเหลือใช้มาคืน ของผู้ป่วยสูงอายุ โรคเรื้อรัง ที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมใจ อำเภอวังทอง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่11. 17กรกฎาคม พ.ศ. 2563:1957-67.
นิตยา แสนแดง, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล และดูแลสุขภาพ, 2561;36(3):33-41.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.