ผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกเกิดที่คลอดขณะติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เอกภพ นันทวงศ์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิดที่คลอดขณะมารดาติดเชื้อโควิด-19, มารดาคลอดบุตรขณะติดเชื้อโควิด-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกเกิดที่คลอดขณะติดเชื้อโควิด-19 และเปรียบเทียบผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ขณะคลอดบุตรในโรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีดำเนินงานวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบ Retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่คลอดบุตรครรภ์เดี่ยวทุกรายที่ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รวมถึงข้อมูลทารกแรกคลอดทุกรายที่คลอดจากมารดาที่ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 - พฤษภาคม 2565 จำนวน 64 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การทบทวนเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติอนุมาน chi-square test  หรือ fisher exact ในตัวแปร categorical data และสถิติ independent t-test และ Mann-Whitney-U test ตัวแปรเชิงปริมาณที่มี การกระจายตัวปกติและไม่เป็นปกติ

ผลการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์คลอดบุตรที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 64  ราย หญิงตั้งครรภ์มีอาการแรกรับทางสูติกรรมส่วนใหญ่คืออาการเจ็บครรภ์คลอด ร้อยละ 85.71 อาการอื่นได้แก่ น้ำเดิน ร้อยละ 81.48 อาการครรภ์เป็นพิษ ร้อยละ 7.40 อาการลูกดิ้นน้อยและเลือดออกระหว่างครรภ์ ร้อยละ 1.85 มารดามีอาการของโควิด-19 คิดเป็น ร้อยละ 37.5 โดยมีอาการปอดอักเสบ คิดเป็น ร้อยละ 28.12 ทั้งนี้มารดาต้องได้รับการผ่าตัดคลอดคิดเป็น ร้อยละ 76.56 มารดาเสียชีวิต 2 รายโดยทั้งสองรายไม่เคยได้รับวัคซีน ส่วนข้อมูลของทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อโควิด-19 พบว่า มีการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 18.75 โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (น้ำหนัก < 2,500 กรัม) คิดเป็น ร้อยละ 17.19 มีค่า APGAR score ที่ 1 นาที <7 คะแนน ร้อยละ 9.38 และมีทารกเสียชีวิตในครรภ์ จำนวน 1 รายจากภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลอาการของมารดาตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19อย่างน้อย 1 เข็มและไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนมีอัตราการหายใจที่สูงกว่า ระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) ต่ำกว่าและภาวะปอดอักเสบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อโควิด-19ระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับวัคซีนพบว่าไม่แตกต่างกันและไม่พบการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

สรุปผลการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็มช่วยลดอัตราการตาย อาการของระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง อัตราการลดต่ำลงของออกซิเจนในเลือดและภาวะปอดอักเสบลดลง ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดอัตราตายและลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565].

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางห้องปฏิบัติการ SARS-CoV-2. กรุงเทพฯ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2564.

นำชัย ชีววิวรรธน์. คู่มือโควิด-19. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), 2564.

World Health Organization. WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020. [Internet]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-generals-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19-11-march-2020. [cited Jul 21, 2022].

นำชัย ชีววิวรรธน์. วัคซีนโควิด-19. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), 2564.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19. ฉบับปรับปรุง Version 6 วันที่ 20 สิงหาคม 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2021/08/CPG-Covid-Preg-V6-20Aug21.pdf [สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565].

กรมอนามัย. การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอดและทารกแรกเกิดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th. [สืบค้น 25 เมษายน 2564].

ศิริกัญญา สมศรี. ผลการรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2565;37(1):13-22.

Wei SQ, Bilodeau-Bertrand M, Liu S, Auger N. Incidence de la COVID-19 sur les issues de grossesse: examen systématique et méta-analyse. Canadian Medical Association journal, 2021;193(22):E813-22.

Eid J, Abdelwahab M, Williams H, Caplan M, Hajmurad S, Venkatesh KK, et al. Decreased severity of COVID-19 in vaccinated pregnant individuals during predominance of different SARS-CoV-2 variants. Am J Reprod Immunol, 2022;88(3):e13596.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — อัปเดตเมื่อ 2023-07-20

เวอร์ชัน