ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • น้ำผึ้ง นันทวงศ์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

บทนำ: แม่วัยรุ่นมักจะมีภาวะขาดสารอาหารและพฤติกรรมการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ในการใช้ยาบางอย่างที่อาจเกิดมีผลต่อทารกในครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะได้ทารกที่ตัวเล็กน้ำหนักน้อย อัตราตายของทารกที่คลอดสูง มีความผิดปกติแต่กำเนิด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีดำเนินงานวิจัย: การศึกษารูปแบบ Retrospective Cohort study กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปีนับถึงวันคลอดบุตร โดยใช้ข้อมูลโรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2564 คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 480 ราย ใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยทีละตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์ลอจิสติคถดถอยอย่างง่าย (Simple logistic regression) หาค่า OR และช่วงความเชื่อมั่น 95% CI  และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายตัวแปรโดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression)

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 480 รายพบความชุกการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 67 คนคิดเป็น 13.96 % โดยพบ extremely preterm (<28 สัปดาห์) จำนวน 2 ราย คิดเป็น 2.29%, very preterm (28-<32  สัปดาห์) จำนวน 15 ราย คิดเป็น 22.39 % และ moderate preterm (32-<37 สัปดาห์) จำนวน 50 ราย คิดเป็น 74.63 % พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำนหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้แก่ ดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยจะลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด 0.90 เท่า ( p-value=0.003, 95% CI=0.50-0.96) ประวัติการสูบบุหรี่ 4.87 เท่า ( p-value=<0.001, 95% CI=2.15-11.03 ) ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ 3.73 เท่า ( p-value=<0.001, 95% CI=1.97-7.05) น้ำเดินก่อนกำหนด 89.89 เท่า ( p- value=<0.001, 95% CI=11.46-704.79) และ การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ 3.13 เท่า ( p-value=<0.001, 95% CI=1.74-5.61) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้แก่ ดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยจะลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด 0.89 เท่า (Adj.OR=0.89, p-value=0.003, 95% CI=0.82-0.96) น้ำเดินก่อนกำหนด 182.07เท่า (Adj.OR= 182.07, p-value=<0.001, 95%CI=16.64-1991.81) และการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ 2.74 เท่า  (Adj.OR= 2.74, p-value=0.003, 95%CI=1.42-5.28)

สรุปผลการวิจัย: ความชุกการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 67 คนคิดเป็น 13.96 % ปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้แก่ ดัชนีมวลกาย น้ำเดินก่อนกำหนดและการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

World Health Oganization. Preterm birth. [ออนไลน์]. Available: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022].

Editorial. The global burden of preterm birth. The Lancet, 2009;374(9697):1214.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานการตรวจราชการรอบที่ 2 ปี 2565 เขตสุขภาพที่ 9. ชัยภูมิ: กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2565.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวปฎิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2558.

นวลอนงค์ วงศ์ขันแก้ว, ธัญจิรา ทองกรณ์, ปนัฐดา กันทาเศษ, พงศ์ศิริ หงส์สีธิ. อายุมารดากับผลลัพธ์ การตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 2021;29(1):1-15.

Sulaiman S, Othman S, Razali N, Hassan J. Obstetric and perinatal outcome in teenage pregnancies: research. SAJOG, 2013;19(3):77-80.

American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Practice Bulletin. Assessment of risk factors for preterm birth. Clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists. Number 31, October 2001. (Replaces Technical Bulletin number 206, June 1995; Committee Opinion number 172, May 1996; Committee Opinion number 187, September 1997; Committee Opinion number 198, February 1998; and Committee Opinion number 251, January 2001). Obstet Gynecol, 2001;98(4):709-16.

กระทรวงสาธารณสุข. HDC-Report. [ออนไลน์]. Available: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format4.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=33030aadb48bb766f602bf51a65c71b7 [อ้างถึง 13 สิงหาคม 2022].

Koullali B, Oudijk MA, Nijman TAJ, Mol BWJ, Pajkrt E. Risk assessment and management to prevent preterm birth. Semin Fetal Neonatal Med, 2016;21(2):80-8.

มรกต สุวรรณวนิช. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และภาวะแทรกซ้อน จากการคลอดในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 2559;35(3):150-7.

Intaraphet S, Kongpechr S, Mahawerawat S, Potchana R. Risk Factors and Outcomes of Preterm Birth among Northeastern Thai Teenage Mothers in Thailand. Journal of South Asian Federation of Obstetrics and Gynaecology, 2021;13(2):111-6.

Sukhopon W, Anakrat W, Pradyachaipimon A. The Prevalence of Preterm Delivery and Adverse Pregnancy Outcomes in Healthy Singleton Teenage Pregnancies at Charoenkrung Pracharak Hospital. Thai J Obstet Gynaecol, 2021;29(5):298-304.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. ปัจจัยเสียงทีเหมาะสมในการคัดกรองการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2560;26(1):S64-9.

Blencowe H, Cousens S, Oestergaard MZ, Chou D, Moller AB, Narwal R, et al. National, regional, and worldwide estimates of preterm birth rates in the year 2010 with time trends since 1990 for selected countries: a systematic analysis and implications. Lancet, 2012;379(9832):2162-72.

Chawanpaiboon S, Kanokpongsakdi S. Preterm Birth at Siriraj Hospital: A 9-Year Period Review (2002-2010). Siriraj Med J, 2011;63(5):143-6.

Fuchs F, Monet B, Ducruet T, Chaillet N, Audibert F. Effect of maternal age on the risk of preterm birth: A large cohort study. PLoS ONE, 2018;13(1):e0191002.

Chawanpaiboon S, Vogel JP, Moller AB, Lumbiganon P, Petzold M, Hogan D, et al. Global, regional, and national estimates of levels of preterm birth in 2014: a systematic review and modelling analysis. Lancet Glob Health, 2019;7(1):e37-46.

Han Z, Mulla S, Beyene J, Liao G, McDonald SD, . Maternal underweight and the risk of preterm birth and low birth weight: a systematic review and meta-analyses. Int J Epidemiol, 2011;40(1):65–101.

Kosa JL, Guendelman S, Pearl M, Graham S, Abrams B, Kharrazi M. The Association Between Pre-pregnancy BMI and Preterm Delivery in a Diverse Southern California Population of Working Women. Matern Child Health J, 2011;15(6):772-81.

Shaw GM, Wise PH, Mayo J, Carmichael SL, Ley C, Lyell DJ, et al. Maternal prepregnancy body mass index and risk of spontaneous preterm birth. Paediatr Perinat Epidemiol, 2014;28(4):302-11.

Hamułka J, Zielińska MA, Chądzyńska K. The combined effects of alcohol and tobacco use during pregnancy on birth outcomes. Rocz Panstw Zakl Hig, 2018;69(1):45-54.

Anton RF, Becker HC, Randall CL. Ethanol increases PGE and thromboxane production in mouse pregnant uterine tissue. Life Sci, 1990;46(16):1145-53.

Devi TC, Singh HS. Prevalence and associated risk factors of preterm birth in India: A review. J Public Health Dev, 2021;19(2):209-26.

Khashan AS, Baker PN, Kenny LC. Preterm birth and reduced birthweight in first and second teenage pregnancies: a register-based cohort study. BMC Pregnancy Childbirth, 2010;10(1):36.

Tingleff T, Vikanes Å, Räisänen S, Sandvik L, Murzakanova G, Laine K. Risk of preterm birth in relation to history of preterm birth: a population-based registry study of 213 335 women in Norway. BJOG Int J Obstet Gynaecol, 2022;129(6):900-7.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล, ยศพล เหลืองโสมนภา. การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น : ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2556;32(2):147-56.

สุชิน กันทาวงค์. Preterm Premature Rupture of Membranes. [ออนไลน์]. Available: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2088/ [อ้างถึง 24 ตุลาคม 2022].

Roman A, Ramirez A, Fox NS. Screening for preterm birth in twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol MFM, 2022;4(2S):100531.

สุนีย์ กลีบปาน. บทบาทพยาบาลระยะตั้งครรภ์ในมารดาครรภ์แฝด: กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 2562;12(2):16-28.

วิทวัส หาญอาษา. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 2565;30(1):35-44.

Guideline for Intrauterine Growth Restriction. Intrauterine Growth Restriction (IUGR): ภาวะทารกโตช้าในครรภ์. [ออนไลน์]. Available: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/guideline-for-intrauterine-growth-restriction/ [อ้างถึง 14 พฤศจิกายน 2022].

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — อัปเดตเมื่อ 2024-08-16

เวอร์ชัน