This is an outdated version published on 2022-12-30. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้า ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • กาญจนา วรรณไชย ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเลย
  • อภิชาติ สุนทร ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล , ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้า , พยาบาลห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้าในหน่วยงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำเกิดผ่าแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ เช่น อาการปวดรุนแรง ติดเชื้อและฟื้นตัวช้า

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้าและศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเลย

วิธีการการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการพยาบาล และ ศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้า 60 คน และพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด 50 คน ดำเนินการเดือน เมษายน-กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์การดูแล แบบวัดความรู้ของพยาบาล แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับพยาบาล

ผลการศึกษา: หน่วยงานมีรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้าที่ชัดเจน ได้แก่ การเตรียมก่อนผ่าตัด การดูแลขณะผ่าตัดและการติดตามดูแลหลังผ่าตัด หลังการพัฒนาพบว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนลดลง (p=0.010) ควบคุมความปวดรุนแรง 48-72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดได้เพิ่มขึ้น (p=0.005, p<0.001) และลดวันนอนโรงพยาบาลได้ (p=0.005) พยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น (p=0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพิ่มขึ้น (p<0.001) และมีระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุป: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งเต้าที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มความครอบคลุมการพยาบาล ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และสามารถจัดการความปวดหลังผ่าตัดได้

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2565].

WHO. Breast cancer. [Internet]. Available from: http://www.who.int/cancer/prevention/diagnosisscreening/breast-cancer/ en//breast-cancer/en/ [cited 2022 march 22].

จินตนา กิ่งแก้ว. มะเร็งเต้านมกับการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม. วารสารโรคมะเร็ง, 2560;37(4):163-70.

พจน์ชวิทย์ อภินิเวศ. โรคของเต้านม. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์, 2555.

WHO. Thailand burden of cancer. Cancer cbountry. [Internet]. Available from: http://who.int/cancer/counrty- profiles/THA_2020 pdf [cited 2022 march 12].

อุษาวดี อัศดรวิเศษ. สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาสตร์ เล่ม 2. ฉบับบปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555.

ชุลีพร วชิรธนากร. ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดทางนรีเวช. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560;24(1):51-9.

Flikweert ER, Izaks GJ, Knobben BA, Stevens M, Wendt K. The development of a comprehensive multidisciplinary care pathway for patients with a hip fracture: design and results of a clinical trial. BMC Musculoskeletal Disorders, 2014;15:188.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่2. นนทบุรี:องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก, 2550.

กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับ การวิจัย และประเมินผล (Appraisal of Guideline for Research

& Evaluation II; AGREE II. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2556.

Stetler, C. B. Stetler model of evidence-based practice.The Nursing Clinics of North Americ 2001; 49(3): 269– 274.

John W. Best. Research in Eucation, 4th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.1981.

Thomas LH, McColl E, Cullum N, Rousseau N, Soutter J, Steen N. Effect of clinical guidelines in nursing, midwifery, and the therapies: a systematic review of evaluations. Qual Health Care, 1998;7(4):183-91.

เสาวลักษณ์ ภูนวกุล, นพรัตน์ เรืองศรี, อรพรรณ มันตะรักษ์, จารุภา คงรส. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกรมการแพทย์, 2560;42(6):102-7.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

เวอร์ชัน