การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก ในห้องคลอดโรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • สุพนิต ปัญญาภู หอผู้ป่วยห้องคลอด โรงพยาบาลเลย
  • ละมัย เดชสูงเนิน หอผู้ป่วยห้องคลอด โรงพยาบาลเลย
  • พิชัย บุญมาศรี โรงพยาบาลเลย
  • ระพีพรรณ นันทะนา กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล , การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

บทนำ: ห้องคลอดโรงพยาบาลเลยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลปี 2562-2564 พบร้อยละ 0.68, 1.83 และ 2.11 ตามลำดับ อาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อคและการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอดได้

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก ในห้องคลอด โรงพยาบาลเลย และศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการพยาบาล

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงาน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่คลอดทางช่องคลอด รักษาตัวห้องคลอดตั้งแต่ เมษายน-กันยายน 2565 จำนวน 360 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลวิจัยใช้ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก/สนทนากลุ่ม/ประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล ทดสอบค่าความเชื่อมั่นได้ 0.94 และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติ ทดสอบค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77

ผลการศึกษา: หลังใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มพยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมครอบคลุมทุกข้อตั้งแต่ระยะแรกรับ รอคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด 2 ชั่วโมง พบว่าอุบัติการณ์ตกเลือด 2 ชั่วโมงหลังคลอดลดลงจากร้อยละ 6.7 เป็น 0.0 (p=0.07) ไม่เกิดอุบัติการณ์ช็อกจากการเสียเลือด การตัดมดลูก และการเสียชีวิต รวมทั้งพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมง สามารถเพิ่มมาตรฐานและคุณภาพทางการพยาบาลของพยาบาลห้องคลอด และช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอดได้

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Trends in maternal mortality: 1990 to 2013: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division. Geneva, Switzerland: WHO, 2014.

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2562.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใน 2 ชั่วโมงแรกในห้องคลอด: บทบาทผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 2557;37(2):155-62.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. เลย: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข, 2565.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2560;6(2):146-57.

Carroll M, Daly D, Begley CM. The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: a systematic review. BMC Pregnancy and Childbirth, 2016;16(1):261-70.

Tort J, Rozenberg P, Traoré M, Fournier P, Dumont A. Factors associated with postpartum hemorrhage maternal death in referral hospitals in Senegal and Mali: a cross-sectional epidemiological survey. BMC Pregnancy Childbirth, 2015;15(235):1-9.

ศิริโสภา คำเครือ, ทัศนีย์ ศรีสุวรรณ, รุณราภรรณ์ แก้วบุญเรือง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 2561;8(1):46-57.

Pakinee K. Development of a clinical nursing practice guideline to prevent early postpartum hemorrhage for vaginal delivery in a labor room, Songkhla Hospital. Journal of nursing and public health research, 2021;1(2):83-99.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. USA: Deakin University, 1988.

พูลสวัสดิ์ โพธิ์ทอง, สุรีพร กระฉอดนอก, พิชัย บุญมาศรี, ระพีพรรณ นันทะนา. ผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร, 2562;39(2):14-24.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — อัปเดตเมื่อ 2023-01-18

เวอร์ชัน