การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเลย
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติ , การพยาบาล , แผลกดทับ , หอผู้ป่วยหนักบทคัดย่อ
บทนำ: แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญพบในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดการเลื่อนไหว อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ตึกผู้ป่วยหนักพบอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ พ.ศ. 2561-2563 คิดเป็น 1.9, 2.6, 5.8 ต่อพันวันนอน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับในหอผู้ป่วยหนัก
วิธีดำเนินงานวิจัย:วิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน-ธันวาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ 17 คน และผู้ป่วยที่มีคะแนนบราเดนสกอร์ (Braden score) ≤18 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 260 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก/การสนทนากลุ่ม/การประชุมระดมสมองและสะท้อนคิดแบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลด้วยสถิติ Fisher’s exact test, McNemar’s test, Independence t-test/ Mann Whitney U test และ Wilcoxon signed rank test
ผลการวิจัย: หลังใช้แนวปฏิบัติฯพบว่า พยาบาลมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องการประเมินความเสี่ยง (p=0.004) การกระจายแรงกด (p=0.016) การป้องกันแผลกดทับจากอุปกรณ์แพทย์ (p=0.004) ผลลัพธ์ทางคลินิกหลังการพัฒนาและใช้แนวปฏิบัติเกิดแผลกดทับ 8 คน ลดลงจาก ร้อยละ 6.11 เป็น ร้อยละ 0.8 (p=0.036)
สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับและนวัตกรรมที่นอนเจล-ยางพารา สามารถลดการเกิดแผลกดทับได้
เอกสารอ้างอิง
Cooper KL. Evidence-based prevention of pressure ulcers in the intensive care unit. Critical Care Nurse, 2013;3(6):57-66.
มณีนุช สุทธสนธิ์, กาญจนา ปัญญาธร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยอาการหนัก โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2562;37(4):80-9.
NHS Improvement. Pressure ulcer core curriculum. NHS Improvement: London, 2018.
Gefen A, Alves P, Ciprandi G, Coyer F, Milne TC, Ousey K, et al. Device-ralated pressure ulcer: SECURE prevention. J Wound Care, 2020;29(Sup2a):S1-S52.
พรศิริ เรือนสว่าง, เพ็ญพิมพ์ ขันทอง, ณัฐนันท์ หาญณรงค์, ธัณฐภรณ์ กอสกุลศิริบูรณ์, อรุณรัตน์ เพิ่มผล. การจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและการดูแลแผลกดทับในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถานับบำราศนราดูร, 2557; 8(3): 1-11.
Stephenson J, Fletcher-Obe J, Pareitt G, Ousey K. National audit of pressure ulcer prevalence in England: a cross sectional study. Wound UK, 2021;17(4):45-55.
Young C. Using the 'aSSKINg' model in pressure ulcer prevention and care planning. Nurs Stand, 2021;36(2):61-6.
Karadag A, Hanonu S, Eyikara E. A prospective, descriptive study to assess nursing staff Perceptions of and interventions to prevent medical device-related pressure injury. Ostomy wound management, 2017;63(10):34-41.
Seong YM, Lee H, Seo JM. Development and testing of an algorithm to prevent medical device-Related pressure injuries. The journal of health care organization, Provision, and Financing, 2021;58(1):1-11.
Serraes B, Leen MV, Schols J, Hecke AV, Verhaeghe S, Beeckman D. Prevention of pressure ulcers with a static air support surface: A systematic review. Int Wound J, 2018;15(1):333-43.
Rich SE, Shardell M, Hawkes WG, Margolis DJ, Amr S, Miller R, et al. Pressure-redistributing support surface use and pressure ulcer incidence in elderly hip fracture patients. The American Geriatrics Society, 2011;29(6):1053-61.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2022-12-30 (2)
- 2022-12-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.