ประสิทธิผลของการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในผู้ป่วย ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในโรงพยาบาลปากช่องนานา

ผู้แต่ง

  • ศิวพร ศิริมาศรังษี กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด, ประสิทธิผล, การรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (postoperative nausea and vomiting: PONV) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ส่งผลต่อความรู้สึกไม่สุขสบายของผู้ป่วยและความพึงพอใจของผู้ป่วยลดลง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรกในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบ historical controlled trial ในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ที่มารับบริการในกลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลปากช่องนานา ระหว่าง ปี พ.ศ.2562 - 2564 จำนวน 196 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับยาตามแนวทาง และกลุ่มควบคุม คือกลุ่มผู้ป่วยก่อนใช้แนวทางป้องกัน จำนวนกลุ่มละ 98 ราย เก็บข้อมูลจากแบบประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด, แบบบันทึกการระงับความรู้สึก, และรายงานอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง วิเคราะห์อุบัติการณ์ด้วย Kaplan-Meier และเปรียบเทียบด้วย Log rank test และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยสถิติ cox proportional hazard analysis

ผลการวิจัย: อุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มทดลองเท่ากับ 0.041/100 คน-นาที โดยมีระยะปลอดเหตุการณ์เท่ากับ 250 นาที (95% CI: 205, -) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีอุบัติการณ์เท่ากับ 0.16/100 คน-นาที และระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ เท่ากับ 195 นาที (95% CI: 170, 245) ความแตกต่างดังกล่าว มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาป้องกันมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา (HR = 0.27; 95% CI: 0.03, 2.71)

สรุปอภิปรายผลการวิจัย: การใช้ยา ondansetron และ dexamethasone ตามแนวทาง มีประสิทธิผลในการลดการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรก ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงได้

เอกสารอ้างอิง

Gan TJ, Diemunsch P, Habib AS, Kovac A, Kranke P, Meyer TA, et al. Consensus guidelines for the management of postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2014;118(1):85-113.

Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Eubanks S, et al. Consensus guidelines for managing postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2003;97:62-71.

Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Habib AS, et al. Society for ambulatory anesthesia guidelines for the management of postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2007;105:1615-28.

Macario A, Weinger M, Carney S, Kim A. Which clinical anesthesia outcomes are important to avoid? The perspective of patients. Anesth Analg. 1999;89(3):652-8.

Stadler M, Bardiau F, Seidel L, Albert A, Boogaerts JG. Difference in risk factors for postoperative nausea and vomiting. Anesthesiology. 2003;98:46-52.

ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล, ธิรดา จิ่มอาษา, วรนุช แต้ศิริ, เบญจศิล เกตุคล้าย, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, มาลิณี วงศ์สวัสดิวัฒน์. การศึกษาประสิทธิผลการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(3):250-5.

Pym A, Ben-Menachem E. The effect of a multifaceted postoperative nausea and vomiting reduction strategy on prophylaxis administration amongst higher-risk adult surgical patients. Anesth Intensive Care. 2018;46(2):185-9.

Murphy GS, Szokol JW, Avram MJ, Greenberg SB, Shear T, Vender JS, et al. The effect of single low-dose dexamethasone on blood glucose concentration in the perioperative period: A randomized, placebo-controlled investigation in gynecologic surgical patients. Anesth Analg. 2014;118(6):1204-12.

Kolanek B, Svartz L, Robin F, Boutin F, Beylacq L, Lasserre A, et al. Management program decrease postoperative nausea and vomiting in high-risk and in general surgical patients: a quality improvement cycle. Minerva Anesthesiol. 2014;80(3):337-46.

Jin Z, Gan TJ, Bergese SB. Prevention and treatment of postoperative nausea and vomiting (PONV): A review of current recommendations and emerging therapies. Ther Clin Risk Manag. 2020;16:1305-17.

Gan TJ, Belani KG, Bergese S, Chung F, Diemunsch P, Habib AS, et al. Fourth consensus guidelines for the management of postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg. 2020;131(2):411-48.

Kienbaum P, Schaefer MS, Weibel S, Schlesinger T, Meybohm P, Eberhart LH, et al. Update on PONV-What is new in prophylaxis and treatment of postoperative nausea and vomiting: Summary of recent consensus recommendations and Cochrane reviews on prophylaxis and treatment of postoperative nausea and vomiting. Anaesthesist. 2022;71(2):123-8.

Kovac AL. Comparative pharmacology and guide to the use of the serotonin 5-HT3 receptor antagonists for postoperative nausea and vomiting. Drugs. 2016;76(18):1719-35.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18