การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อหินที่มีโรคร่วมและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมร่วมกับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องหน้าม่านตา: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคต้อหิน, การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม, การผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องหน้าม่านตาบทคัดย่อ
โรคต้อหินเป็นโรคทางดวงตาที่เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร การรักษาทำได้เพียงหยุดการทำลายเส้นประสาทตา และทำให้ความสามารถในการมองเห็นคงที่ให้มากที่สุดตลอดชีวิตของผู้ป่วย พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั้งก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัด และการวางแผนจำหน่าย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อหินที่มีโรคร่วมและได้รับการผ่าตัดผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมร่วมกับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องหน้าม่านตา ตามแนวคิวทฤษฎีแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
วิธีการศึกษา: เป็นกรณีศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 69 ปี มาด้วยอาการปวดตาขวา 3 วัน แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคต้อหินชนิดมุมปิดร่วมกับมีภาวะเลนส์แก้วตาขุ่น เข้ารักษาในหอผู้ป่วย จักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน - 29 มิถุนายน 2565 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยต้อหินชนิดมุมปิดร่วมกับต้อกระจกตาข้างขวา ทั้งนี้มีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และได้รับการผ่าตัดผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมร่วมกับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องหน้าม่านตา ผลกการตรวจร่างกายพบว่า กระจกตาขวาเป็นฝ้าขุ่น ตาขวาแดง ผลการวัดสายตา ตาขวา 20/70 PH 20/70 ตาซ้าย 20/50-1 PH 20/30-2 ระดับความดันลูกตา ตาขวา 41 มิลลิเมตรปรอท ตาซ้าย 14 มิลลิเมตรปรอท ถ่ายภาพจอประสาทตา C:D RE 0. 9 เลนส์ตาข้างขวา NS 3+ ประเมินผู้ป่วยโดยใช้ 11 แบบแผนของกอร์ดอน พบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 3 ประเด็นหลัก คือ ความไม่สุขสบายอันเกิดจากพยาธิของโรคและการผ่าตัด การขาดความรู้ในการปฏิบัติตนและนำไปสู่ความวิตกกังวล และภาวะเสี่ยงต่อระบบการมองเห็นและอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม ให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ และประเมินผลการพยาบาล พบว่าข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้รับการแก้ไข ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายหลังนอนโรงพยาบาล 3 วัน
สรุป: ผู้ป่วยโรคต้อหินที่เข้ารับการผ่าตัด ส่วนใหญ่เกิดจากการควบคุมระดับความดันตาไม่ได้ ซึ่งมีสาเหตุจากจากปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน เช่น ปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่สม่ำเสมอ ความไม่พร้อมในการดูแลตนเอง ไม่มีความรู้ในการดูแลตนเอง จะเห็นได้ว่าการประเมินโดยใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นการประเมินพฤติกรรมภายในและภายนอกของบุคคล ทั้งประเมินระบบสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนทางสังคม การวางแผนจำหน่ายที่ดี มีระบบสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้เข้าใจการดูแลตนเองมากขึ้น จากความเข้าใจที่ดีขึ้นของผู้ป่วย และความรู้ที่ญาติได้รับจากพยาบาล
เอกสารอ้างอิง
Weinreb RN, Aung T, Medeiros FA. The pathophysiology and treatment of glaucoma: a review. JAMA. 2015;311(18):1901-11.
จิรัชยา เจียวก๊ก. การรับรู้และพฤติกรรมดูแลตัวเองของผู้ป่วยต้อหิน. วารสารจักษุธรรมศาสตร์. 2556;8(2):29-45.
สมชาย พรวิจิตรพิศาล. ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดตาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561.
ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล, ปรัศนี พันธุ์กสิกร. ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยต้อหิน: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสภาการพยาบาล. 2562;34(4):19-33.
Binibrahim IH, Bergström AK. The role of trabeculectomy in enhancing glaucoma patient's quality of life. Oman Journal of Ophthalmology. 2017;10(3):150-154.
Lusthaus J, Goldberg I. Current management of glaucoma. Medical Journal of Australia. 2019;210(4):180-7.
Panarelli JF, Nayak NV, Sidoti PA. Postoperative management of trabeculectomy and glaucoma drainage implant surgery. Current Opinion in Ophthalmology. 2016;27(2):170-6.
โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาล. นครราชสีมา: โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. 2565.
Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. St. Louis: Mosby.1994.
ศิริลักษณ์ โชติวุฒิมนตรี, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคต้อหิน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556;6(1):37-46.
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2561.
ภารดี จันทรรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพ ชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.
วารุณี กุลราช, วัลภา คุณทรงเกียรติ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดตา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560;9(1):1-12.
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์. ตำราจักษุวิชาการเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561.
อติพร ตวงทอง, วณิชา ชื่นกองแก้ว, อภิชาต สิงคาลวณิช. [บรรณาธิการ]. ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2558.
เอื้องพร พิทักษ์สังข์. งานสังเคราะห์แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคต้อหิน. งานการพยาบาลตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.