การวิเคราะห์ความเข้มข้นของ 70% แอลกอฮอล์ ที่ระยะเวลา 0, 90 และ 180 วัน ของโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • กฤชกัมปนาท นาคคำ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ, แอลกอฮอล์, สารฆ่าเชื้อ

บทคัดย่อ

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้อุปทานการใช้แอลกอฮอล์ขาดแคลน การเตรียมผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ 70% ไว้ใช้ในหน่วยงานเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการและทันท่วงทีในการใช้ อย่างไรก็ตาม การประเมินประสิทธิภาพของน้ำยาหลังเปิดใช้เป็นสิ่งที่ควรกังวล งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของปริมาณแอลกอฮอล์ 70% ภายหลังการเปิดใช้บรรจุภัณฑ์ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ที่เตรียมเสร็จใน Cylinder ขนาด 400 mL จำนวน 30 ขวด และนำไปวางไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ในโรงพยาบาล และวัดระดับความเข้มข้นที่แท้จริงของ 70% แอลกอฮอล์ด้วยเครื่องมือ THERMO-Alcohol Meter พร้อมจดบันทึกผล ณ เวลา 0, 90 และ 180 วัน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ repeated measure ANOVA และ friedman’s test

ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะทางกายภาพของเภสัชภัณฑ์ 70% แอลกอฮอล์ เช่น สี กลิ่น และค่า pH ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 180 วัน ขณะที่ปริมาณความเข้มข้นของ 70% แอลกอฮอล์ ลดลงเล็กน้อย (Day 0; Mean = 70.87: sd.=0.36, Day 90; Mean = 70.80: sd.= 0.36, Day 180; Mean = 70.75: sd.= 0.37) ผลจากการทดสอบด้วยสถิติ Friedman test พบว่าความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ (Q(2) = 12.500, p-value = 0.0019)

ความเข้มข้นของ 70% แอลกอฮอล์ลดลงเล็กน้อยในระยะเวลา 6 เดือน แต่ยังคงมีคุณภาพตามมาตรฐานเภสัชภัณฑ์ในการฆ่าเชื้อ (เกินกว่า 60%) การศึกษาในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เพื่อกำหนดระยะการหมดอายุ รวมถึงเปรียบเทียบวิธีการทดสอบแบบอื่น และถ่ายทอดกระบวนการให้กับโรงพยาบาลอื่น หรือชุมชน เป็นวิธีการที่ใช้ต่อยอดในการพัฒนา

เอกสารอ้างอิง

Seif F, Noorimotlagh Z, Mirzaee SA, Karantar M, Barati B, Fard ME, et al. The SARS-Cov-2 (COVID-19) pandemic in hospital: An insight into environment surfaces contamination, disinfectants’ efficiency, and estimation of plastic waste production. Environ Res. 2021;202:111809.

Mahmood A, Eqan M, Pervez S, Alghamdi HA, Tabinda AB, Yasar A, et al. COVID-19 and frequent use of hand sanitizers; human health and environment hazards by exposure pathways. Sci Total Environ. 2020;742:140561.

Bahlol M, Dewey RS. Pandemic preparedness of community pharmacies for COVID-19. Res Social Adm Pharm. 2021;17(1):1888-96.

Aytogan H, Ayintap E, Yilmaz NÖ. "Detection of coronavirus disease 2019 viral material on environmental surfaces of an ophthalmology examination room.". JAMA Ophthalmol. 2020;138(9):990-3.

Daverey A, Dutta K. COVID-19: Eco-friendly hand hygiene for human and environmental safety. J Environ Chem Eng. 2021;9(2):104754.

Singh D, Joshi K, Samuel A, Parta J, Mahindroo N. Alcohol-based hand sanitisers as first line of defence against SARS-CoV-2: a review of biology, chemistry and formulations. Epidemiol Infect. 2020;148:e229.

Guner R, Hasanoglu I, Aktas F. COVID-19: Prevention and control measure in community. Turk J Med Sci. 2020;50(SI-1):571-577.

Rutala WA, Weber DJ, and the Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee. Guideline for Disinfection and Sterilization in Healthcare Facilities. Center for disease control and prevention 2008 (update May 2019).

กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/web-upload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6734/35219/file_download/1ae51a926b11f89ec435f5e13bdc830f.pdf.

วรรณพร บุญพาณิชยการกุล. การประกันคุณภาพ 70% แอลกอฮอล์ของโรงพยาบาลชัยภูมิ. กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2550.

นพวัฒน์ เพ็งคำศรี. การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเภสัชกรรม. [internet]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=338

Postlewaite J, Taraban L. A study monitoring the in-use 70% Isopropyl Alcohol Level using a specific Gravity Methods test. TechNotes. 2015;14(6):1-4.

เมนะกา วิวน, วงเดือน นาคนิยม. การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพื่อสุขภาพอนามัยสำหรับมือด้วยวิธีแก๊สโครมาโท กราฟี. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2563;62(3):268-80.

นันทภัส ธิติศักดิ์สกุล, สุโรจน์ แพงมา, อิสรีย์ พละสินธุ์เดชา, ภูวนาท หมื่นโฮ้ง, รพี จรุงศิรวัฒน์, สุภาวดี ดาวดี, และคณะ. การวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทาความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบจากจังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(3):59-73.

เจษฎา นพวิญญูวงศ์, ชญานิศ ศรชัยธวัชวงศ์, จรรยา ศรีแสงจันทร์, สริน ทัดทอง, อมรรัตน์ วิริยะโรจน์. ความคงตัวทางเคมีของแอลกอฮอล์ 70% หลังเปิดใช้. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557;29(6):505-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18