เปรียบเทียบประสิทธิผลการวินิจฉัยวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์และ GeneXpert MTB/RIF กับการเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรคในตัวอย่างเสมหะจากผู้ป่วยที่สงสัยน่าจะเป็นวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อุบล สินธุพันธุ์ประทุม กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • วาริน หาญชนะ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • วารุณี สินธุพันธ์ุประทุม กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

GeneXpert MTB/RIF, AFB Microcropy, TB culture

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา การตรวจวินิจฉัยหาเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ (AFB Microscopy) การเพาะ เลี้ยงเชื้อวัณโรค (TB culture) การตรวจทางอณูชีววิทยา ได้แก่ GeneXpert MTB/RIF assay เพื่อการวินิจฉัยวัณโรคและการดื้อยา rifampicin

วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบประสิทธิผลการวินิจฉัยวัณโรคด้วย AFB Microscopy และ GeneXpert MTB/RIF กับ TB culture ในตัวอย่างเสมหะจากผู้ป่วยที่สงสัยน่าจะเป็นวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบวิจัยเป็น Cross sectional study ใช้สถิติ Cochran’s Q test, Post Hoc test และ McNemar Chi-Square test จำนวนตัวอย่างที่ใช้คือ เสมหะ 120 ตัวอย่าง โดยเสมหะ 1 ตัวอย่าง จะตรวจทั้ง AFB Microscopy, GeneXpert MTB/RIF และ TB culture

ผลการศึกษา พบ Sensitivity, Specificity, PPV และ NPV ดังนี้คือ 1) GeneXpert MTB/RIF เปรียบเทียบกับ TB culture คือ ร้อยละ 88, 87, 62 และ 9 ตามลำดับ 2) AFB Microscopy เปรียบเทียบกับ TB culture ร้อยละ 33, 100, 100 และ 86 ตามลำดับ 3) AFB Microscopy เปรียบเทียบกับ GeneXpert MTB/RIF ร้อยละ 24, 100, 100 และ 77 ตามลำดับ ประสิทธิผลในการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธี GeneXpert MTB/RIF, AFB Microscopy และ TB Culture เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Cochran’s Q test พบว่ามีอย่างน้อยหนึ่งคู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-valve < .001 โดยพบว่ามี 2 คู่ที่แตกต่างกันคือ AFB Microscopy กับ TB culture ได้ P-value < 0.001 และคู่ GeneXpert MTB/RIF กับ AFB Microscopy ได้ P-value <0.001 ส่วนคู่ที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติคือ GeneXpert MTB/RIF กับ TB culture ได้ P-Value =0.69

สรุป ประสิทธิผลการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธี GeneXpert MTB/RIF กับ TB culture ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วน TB culture ดีกว่า AFB Microscopy และวิธี GeneXpert MTB/RIF ดีกว่า AFB Microscopy ดังนั้นจากการศึกษานี้แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการคัดกรองเพื่อค้นหาและวินิจฉัยวัณโรคและวัณโรคดื้อยาในกลุ่มประชากรทั่วไปและกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงต่อวัณโรคที่มีผล Chest X-ray ผิดปกติสามารถส่งตรวจ GeneXpert MTB/RIF ได้เลยโดยไม่ต้องส่ง AFB Microscopy เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการวินิจฉัยและแยกผู้ป่วยได้เร็วขึ้น

เอกสารอ้างอิง

World Health Oranization. Tuberculosis. 27 October 2022; [Internet]. 2022.[cited 2023 April 03]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis.

World Health Oranization. Global tuberculosis report 2022. 2022; p6.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ : กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2565.

เบญจมาศ ภูมิสุขเจริญ. เปรียบเทียบวิธีการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธีการตรวจ AFB, GeneXpert MTB/RIF และการเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรค. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.พ.2567]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1307020220902071531.pdf .

หัทยา ธัญจรูญ. เทคนิค Xpert MTB/RIF ในการวินิจฉัยกลุ่มผู้ป่วยที่น่าจะเป็นวัณโรคในโรงพยาบาลตากสิน. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2562;47(1):6840-58.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี พ.ศ.2564 สถานการณ์โรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. นคราชสีมา : กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. จับมือ WHO ทบทวนแผนงาน วัณโรคแห่งชาติ มุ่งเป้าลดอัตราป่วยภายในปี 2578. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thecoverage.info/news/content/3584.

Karuniawati A, Burhan E, Koendhori EB, Sari D, Haryanto B, Nuryastuti T, et al. Performance of Xpert MTB/RIF and sputum microscopy compared to sputum culture for diagnosis of tuberculosis in seven hospitals in Indonesia. Front Med (Lausanne) 2023;9:909198.

Maharjan B, Thapa J, Shah DK, Shrestha B, Avsar K, Suzuki Y, et al. Comparison of Xpert MTB/RIF to Microscopy and Culture for the Diagnosis of Tuberculosis in a Referral Laboratory in Nepal. Jpn J Infect Dis 2021;74(6):517-21.

กระทรวงสาธารณสุข. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใน แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2566). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2566; หน้า 22-25.

Shi J, Dong W, Ma Y, Liang Q, Shang Y, Wang F, et al. GeneXpert MTB/RIF Outperforms Mycobacterial Culture in Detecting Mycobacterium tuberculosis from Salivary Sputum. Biomed Res Int 2018:1514381.

วัชรี จรกา. ความแม่นยําในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคดื้อยาด้วย XepertMTB/RIF® assay (GeneXpert MTB/RIF). โรงพยาบาลชลบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.พ.2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/ RIF).pdf.

Reechaipichitkul W, Suleesathira T, Chaimanee P. Comparison of GeneXpert MTB/RIF assay with Conventional AFB Smear for Diagnostic of Pulmonary Tuberculosis in Northeastern Thailand. Southeast Asian J trop Med public health 2017;48(2):313-321.

Maharjan B, Thapa J, Shah DK, Shrestha B, Avsar K, Suzuki Y, et al. Comparison of Xpert MTB/RIF to Microscopy and Culture for the Diagnosis of Tuberculosis in a Referral Laboratory in Nepal. Jpn J Infect Dis 2021;74(6):517-21.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13