การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอตา : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, เบาหวานชนิดที่ 1, ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอตาบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาระดับต้น ๆ ของประเทศไทย การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ เกิดแผลที่เท้าตามมาได้ พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการให้การพยาบาลผู้ป่วยครอบคลุมองค์รวม เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอตา
วิธีการศึกษา : กรณีศึกษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 34 ปี มาด้วยอาการสำคัญ คือ มีอาการตามัว มองไม่ชัด เป็นมา 1 เดือน เข้ารับการรักษาที่คลินิก NCD โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม - 23 สิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นหญิงไทยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอตา ประเมินผู้ป่วยโดยใช้ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม พบปัญหาทางการพยาบาลดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องการเจ็บป่วยเรื้อรัง 2) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อหมดสติจากการคั่งของสารคีโตนเนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดสูง 3) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากใช้อินซูลิน 4) ผู้ป่วยมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะเนื่องจากมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง 5) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะความดันโลหิตสูง 6) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีภาวะโลหิตจาง 7) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากตามัว มองไม่ชัดเจน และ 8) ผู้ป่วยดูแลตนเองไม่เหมาะสมเนื่องจากบกพร่องความรู้ในการดูแลตนเอง หลังจากให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ พบว่าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น สีหน้าวิตกกังวลลดลง ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง ไม่เกิดภาวะภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง
สรุป: หลังให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ตามทฤษฎีของกอร์ดอน ทฤษฎีโอเร็ม และรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง (chronic care model ) แล้วพบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น ความวิตกกังวลลดลง ควบคุมระดับน้ำตาลได้ สามารถอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเบาหวาน ปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่เข้าถึง 1ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256.
วีระศักดิ์ ศรินนภากร, [บรรณาธิการ]. การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยากต่อการรักษา. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2557.
ทิพาพร ธาระวานิช. แนวทางใหม่ของเวชปฏิบัติในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cimjournal.com/confer-update/guideline-t1dm/
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2566.
จิตสุดา บัวขาว. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์. 2559.
Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. St.Louis:Mosby. 1994.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). St. Louis : Mosby. 2001.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติห้องตรวจคลินิก NCD โรงพยาบาลชัยภูมิ ประจำปี 2563 – 2565. ชัยภูมิ : โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.
โสมนัส ถุงสุวรรณ. เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=919.
สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และคณะ, [บรรณาธิการ]. รู้จักคาร์บ รู้จักนับ ปรับสมดุล ควบคุมเบาหวาน. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. 2560.
กิตติ ต่อจรัส, พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ, [บรรณาธิการ]. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะโลหิตจางและธาลัสซีเมีย. กรุงเทพฯ : สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. 2563.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2562.
เครือข่ายบริบาลและการลงทะเบียนเบาหวานชนิดที่1และเบาหวานวินิจฉัยก่อนอายุ 30ปี ประเทศไทย (T1DDAR CN). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dmthai.org/new.
กฤชฐา จีระวงศ์พานิช, จามจุรี เวียงนาค, หยาดฝน ดิษบงค์, อดุลย์ คร้ามสมบุญ. การศึกษาเบื้องต้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร 2564;8(1): 41-55.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.