ผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยที่เคยกระดูกบริเวณสะโพกหัก โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
กระดูกหักซ้ำ, กระดูกสะโพกหักบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกบริเวณสะโพกหักและผู้ป่วยกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยที่เคยกระดูกบริเวณสะโพกหัก ประชากรในการศึกษาคือผู้ป่วยกระดูกบริเวณสะโพกหัก ที่เข้าการรักษาที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติจังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2558-2560 ศึกษาจากเวชระเบียนและภาพถ่ายรังสี จำนวน 75 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยที่เคยกระดูกสะโพกหัก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยกระดูกบริเวณสะโพกหักและกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล ตามรหัส ICD10 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและภาพถ่ายรังสีวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จำนวน 75 คน เพศหญิง ร้อยละ 62.67 อายุเฉลี่ย 73 ปี (S.D.=11.97) ค่าดัชนีมวลกาย ≤23 ร้อยละ 74.67 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 80.00 สาเหตุที่กระดูกสะโพกหักล้มจากการลื่นล้มในห้องน้ำ/ลื่นล้มอื่นๆ ร้อยละ 41.34 การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด ร้อยละ 65.33 โดยการทำกายภาพบำบัดและใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน การรักษาผ่าตัดด้วยวิธี PFN ร้อยละ 42.32 ตำแหน่งกระดูกสะโพกหัก ที่ Intertrochanter of femur ร้อยละ 92.00 การสมานของกระดูกผู้ป่วยผ่าตัดแบบติดไม่ผิดรูป ร้อยละ 50.00 การสมานของกระดูกผู้ป่วยไม่ผ่าตัดแบบติดผิดรูป ร้อยละ 63.27 และมุมองศาของกระดูกผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมุม 116-119 องศา ร้อยละ 42.67
ผู้ป่วยกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยที่เคยกระดูกบริเวณสะโพกหัก จำนวน 12 คน เพศหญิง ร้อยละ 66.67 อายุเฉลี่ย 75 ปี (S.D.=10.38) ค่าดัชนีมวลกาย ≤23 ร้อยละ 91.67โรคทางสุขภาพจิต ร้อยละ 41.67 สาเหตุที่กระดูกสะโพกหักล้มเองจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง/ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 58.33 รักษาด้วยการผ่าตัด ร้อยละ 75.00 ด้วยวิธี Bipolar ร้อยละ 55.57 ตำแหน่งกระดูกสะโพกหักที่ Intertrochanter of femur ร้อยละ 66.67 การสมานของกระดูกในผู้ป่วยผ่าตัดแบบติดไม่ผิดรูปและ แบบติดผิดรูป ร้อยละ 44.45 เท่ากัน และมุมองศาของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมุม ≤ 115 องศา ร้อยละ 41.67
สรุป การรักษาผู้ป่วยกระดูกบริเวณสะโพกหักซ้ำพบมากในผู้ป่วยกระดูกหักบริเวณ Intertrochanter ทั้งที่รับการรักษาโดยผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวรับยาที่มีผลต่อกลไกการทรงตัวเช่นยานอนหลับทำให้ง่วงซึมและล้มได้ง่าย และพบมุมองศาของกระดูกสะโพกหักผิดรูป ≤115 องศา
เอกสารอ้างอิง
Parker M, Johansen A. (2006). Hip fracture. British Medical Journal, 333(755):27-30.
Harty JA, McKenna P, Moloney D, D’Souza L, Masterson E. (2007). Anti-platelet agents and surgical delay in elderly patients with hip fractures. J OrthopSurg (Hong Kong), 15(3):270-2.
Wongtriratanachai P, Luevitoonvechkij S, Songpatanasilp T, Sribunditkul S, Leerapun T, Phadungkiat S, et al. ( 2013). Increasing incidence of hip fracture in ChiangMai, Thailand. J Clin Densitom, 16:347-52.
ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2560). โครงการรณรงค์ลดการหักซ้ำของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ เนื่องในวันโรคกระดูกพรุนโลก.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
Klotzbuecher CM, Ross PD, landsman PB, Abbott TA 3rd, Berger M. (2000). Patients with priorfractures have an increased risk of future fractures : a summary of the literature and statisticalsynthesis. J Bone Miner Res, 15(4):721-39.
Gullberg B, johnell O, Kanis JA. (1997). Worldwide projections for hip fractrures. Osteoporosis International, 7(5):407-13.
อนุชา เศรษฐเสถียร, ดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์. (2552). ปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มแล้วกระดูกสะโพกหักของผู้สูงอายุที่รักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี. ลำปางเวชสาร, 30(3):154-62.
มณฑา ลิ้มทองกุล. (2539). กระดูกหักในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2(3):96-111.
ศิริชัย กาญจนวาสี.(2554).ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
S. Manuele, L. Sorbello, N. Puglisi, S. Grasso, L. La Malfa, G. D’Urbino, et al. (2007). Theteriparatide in the treatment of severe senile osteoporosis. Archives of Gerontology and Geriatrics, 44(Supplement):249-58.
Kingkaew P, Maleewong U, Ngarmukos C, Teerawattananon Y. (2012). Evidence to Informdecision makers in Thailand : a cost-effectiveness analysis of screening and treatmentstrategies for postmenopausal osteoporosis. Value Health, 15:S20-8.
กระทรวงสาธารณสุข. (2548). แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องโรคกระดูกพรุน. นนทบุรี :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2554). ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลัดดา เถียมวงศ์, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). ปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2(2):46-52.
Dargent MP, Bréart G. (1995). Epidemiology of falls and fall-related injuries in the aged. Rev Epidemiol Sante Publique, 43(1):72-83.
Cannard G. (1996). Falling trend. Nurs Times, 92(2):36-7.
Singh S, Charles L, Maceachern CF, Changulani M. (2016). Complications of the surgical management of hip fractures. Orthopaedics and Trauma, 30(2):137-144.
SC Goel, A Gupta. (2017). Non Union of Fracture of the Neck of Femur in Young Adult. Journal of Orthopedics & Bone Disorders, 1(3):000114.
lareau C, Sawyer G. (2010). Hip fracture Surgical treatment and Rehabilitation. Medicine &Health/RHODE ISLAND, 93(4):108-11.
Gurney B, Mermier C, Robergs R, Gibson A, Rivero D. (2001). Effects of Limb-length Discrepancy On Gait Economy And Lower-extremity Muscle Activity In Older Adults. J Bone Joint Surg Am. 83-A(6):907-15.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.