การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียงระหว่างINFLATED CUFF &DEFLATED CUFF TECHNIQUES ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ

ผู้แต่ง

  • ชุติมา กางการ วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียง, ผลสำเร็จ, วิธีการใส่อุปกรณ์ inflated & deflated cuff techniques.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสำเร็จการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียง inflated cuff & deflated cuff techniques ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายโดยไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อโรงพยาบาลชัยภูมิ การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียง แบบประเมินความสำเร็จการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียงซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิสัญญีพยาบาลประจำห้องผ่าตัด ประเมินและลงข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test Chi- square, Fisher’s Exact Test   

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง2กลุ่มมีข้อมูลที่คล้ายคลึงดังนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96.3 เป็นเพศชาย,ร้อยละ 36.7 มีอายุอยู่ในช่วง 28-47 ปีมีน้ำหนักเฉลี่ย 59.6 และ 60.06 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 166.76 และ168.039 เซนติเมตร,ร้อยละ 66.7 มีระดับความเสี่ยงของภาวะสุขภาพ ASA2 ,ร้อยละ 76.6 ระดับความยากง่ายในการใส่ท่อช่วยหายใจ VIEW1 ผลสำเร็จการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียงโดยใช้ระหว่าง inflated cuff & deflated cuff techniques ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

จากข้อค้นพบดังกล่าวควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆต่อผลสำเร็จของการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดครอบกล่องเสียง จะได้ทราบปัญหาที่แท้จริงและหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ครอบคลุมมากขึ้น เช่นกรณีผู้ป่วยมีความพิการปากแหว่งที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขยังไม่ดีพอ ฟันซ้อนกันหลายแถวทำให้ช่องปากแคบไม่สะดวกที่ใช้วิธีการ inflated cuff technique ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บของทางเดินหายใจและเจ็บคอขึ้นได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง

อริศรา เอี่ยมอรุณ. Airway management. [12 พฤศจิกายน 2558]. Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/anesth/undergrad/Airway %20management%20อ.อริศรา%20.pdf

Bartz, A.E. Basic statistical concepts. (4th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall, 1999.

อรรัตน์ กาญจนวนิชกุล, และคณะ. การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ ชนิดปิดครอบกล่องเสียงแบบ I gel®กับ Laryngeal mask airway Unique ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยไม่ได้ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร, 2558;33(1):53-61.

Chen MK, Hsu HT, Lu IC, Shih CK, Shen YC, Tseng KY, et all. Techniques for the insertion of the ProSeal laryngeal mask airway: comparison of the Foley airway stylet tool with the introducer tool in a prospective, randomized study. BMC Anesthesiology, 2014;14:105.

HG Wakeling, PJ Butler, and PJ Baxter. The Laryngeal mask airway: A comparison between insertion techniques. Anesth Analg, 1997;85(3):687-90.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-31

เวอร์ชัน