ประสิทธิผลของการรักษาภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุ โดยการฉีด dexamethasone เข้าหูชั้นกลาง

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ทองวิเศษ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน, การฉีดสเตียรอยด์เข้าหูชั้นกลาง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันเป็นภาวะที่มีการสูญเสียการได้ยินอย่างน้อย 30 เดซิเบลความถี่ที่ต่อเนื่องกันเป็นแบบเฉียบพลันใน 72 ชั่วโมง การรักษาที่เป็นมาตรฐานคือใช้สเตียรอยด์ทางปากหรือทางหลอดเลือดดำ 

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบกึ่งทดลอง จากการทบทวนเวชระเบียน โดยทำการศึกษาในช่วงเดือนมกราคม 2555 ถึง เดือนธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Paired t-test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาโดยการฉีด dexamethasone เข้าหูชั้นกลาง 51 ราย มีการได้ยินดีขึ้น 17  ราย (ร้อยละ 33.3) มี 2 รายที่การได้ยินกลับมาเป็นปกติ ระดับการได้ยินเฉลี่ยดีขึ้นจาก 74.23 เดซิเบล เป็น 66.47 เดซิเบล (p= 0.011) ผู้ป่วยที่เข้ารับการฉีด dexamethasone เข้าหูชั้นกลางก่อน 4 สัปดาห์ มีการได้ยินที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดหลัง 4 สัปดาห์คือร้อยละ 50 และ 16 ตามลำดับ  ภายหลังการรักษา มี 2 รายที่มีอาการเวียนศีรษะหลังการฉีด ผู้ป่วยทั้งหมดไม่พบมีแก้วหูฉีกขาดหรือมีการติดเชื้อในหูชั้นกลาง

สรุปผลการศึกษา: การฉีด dexamethasone เข้าหูชั้นกลางช่วยให้ผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันมีการได้ยินที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยมีภาวะแทรกซ้อนน้อย

เอกสารอ้างอิง

Byl FM Jr. Sudden hearing loss: eight years' experience and suggested prognostic table. Laryngoscope, 1984; 94(5 Pt 1):647-61.

Mattucci KF, Bachoura L. Sudden hearing loss : Ten years experience. Bull N Y Acad Med, 1982; 58(5):464-70.

พงศกร ตันติลีปิกร, นิรมล นาวาเจริญ, จรัล กังสนารักษ์, ศรีทนต์ บุญญานุกูล. ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน: รายงานผู้ป่วย 127 ราย. วารสารหูคอจมูกและใบหน้า, 2537; 2:81-91.

Yimtae K, Srirompotong S, Kraitrakul S. Idiopathic Sudden Sensorineural Hearing Loss. J Med Assoc Thai, 2001; 84(1):113-9.

Conlin AE, Parnes SL. Treatment of Sudden Sensorineural Hearing Loss I.A systematic review. ArchOtolaryngol Head Neck Surgery, 2007; 133(6):573-81.

Moskowitz D, Lee KJ, Smith HW. Steroid use in idiopathic sudden sensorineural hearing loss. Laryngoscope, 1984; 94(5 Pt 1):664-6.

Conlin AE, Parnes LS. Treatment of sudden sensorineural hearing loss: II. A Meta-analysis. Arch Otolaryngol Head Neck Surg, 2007; 133(6):582-6.

Berjis N, Soheilipour S, Musavi A, Hashemi SM. Intratympanic dexamethasone injection vs methylprednisolonefor the treatment of refractory sudden sensorineural hearingloss. Adv Biomed Res 2016; 5:111.

Hui Li, Gang Feng, Hui Wang,Yanmei Feng. Intratympanic Steroid Therapy as a Salvage Treatment for Sudden Sensorineural Hearing Loss After Failure of Conventional Therapy: A Meta-analysis of Randomized, Controlled Trials. Clinical therapeutic, 2015; 37(1):178-87.

Seggas I, Koltsidopoulos P, Bibas A, Tzonou A, Sismanis A. Intratympanic steroid therapy for sudden hearing loss:A review of the literature. Otol Neurotol, 2011; 32(1):29-35.

Plontke SK, Biegner T, Kammerer B, Delabar U, Salt AN. Dexamethasone concentration gradients along scala tympani after application to the round window membrane. Otol Neurotol, 2008; 29(3):401-6.

Furuhashi A, Matsuda L, Asahi K, Nakashima T. Sudden deafness : Long-term follow up and recurrence. Clin Otolaryngol Allied Sci, 2002; 27(6):458-63.

Nakache G, Migirov L, Trommer S, Drendel M, Wolf M, Henkin Y. Steroid-base treatment for patients with total sudden sensorineural hearing loss. Acta Oto-Laryngogica, 2015; 135(9):907-13.

Spear SA, Schwartz SR. Intratympanic steroids for sudden sensorineural hearing loss: A systematic review. Otolaryngology Head and Neck Surgery, 2011; 145(4):534-43.

Ng JH, Ho RC, Cheong CS, Ng A, Yuen HW, Ngo RY. Intratympanic steroid as a salvage treatment for sudden sensorineural hearing loss? A meta-analysis. Eur Arch Otorhinolaryngol, 2015; 272(10):2777-82.

Shaia FT, Sheehy JL. Sudden sensorineural hearing impairment: a report of 1220 cases. Laryngoscpoe, 1976; 86:389-98.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-01

เวอร์ชัน