การกำหนดสมรรถนะ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขชัยภูมิ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การพัฒนาบุคลากร, การบริหารทรัพยากรบุคคลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ และทราบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ศึกษา คือบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 140 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: สมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาสมรรถนะเป็นรายประเภทพบว่าสมรรถนะหลัก สมรรถนะเฉพาะด้าน สมรรถนะด้านการบริหารอยู่ในระดับมาก เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิโดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ให้ความสำคัญของทรัพยากรบุคคลว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนขององค์กรซึ่งการนำพาองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์สนองเป้าหมายและพันธกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าทั้งในแง่ของความรู้ ความสามารถ ทักษะตลอดจนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผลการวิจัย: มีข้อเสนอแนะ ควรจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ลักษณะงานของบุคลากรต้องมีการกำหนดพฤติกรรมตัวบ่งชี้ของแต่ละสมรรถนะและกำหนดเกณฑ์ระดับสมรรถนะให้ชัดเจนรวมถึงต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีให้ความสำคัญกับระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานรวมทั้ง กำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับภาระกิจ บุคลากรควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะทักษะความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มความเชี่ยวชาญและความก้าวหน้าในสายอาชีพ
เอกสารอ้างอิง
ธงชัยสันติวงษ์. การบริหารงานบุคคล.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี : สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงาน ก.พ., 2553.
มณีรัตน์ ฉัตรอุทัย. การศึกษากรอบสมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการห้องสมุดของสำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง, 2551; 16(1):33-43.
บรรจง ครอบบัวบาน. การศึกษาสมรรถนะหลักและแนงทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ด้านการบริการที่ดีของบุคลากรโรงพยาบาลชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ, 2549.
เชาวรัตน์ เตมียกุล. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการวิจัยของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 2553; 23(76):46-52.
พัชรีอยู่ประเสริฐ. การพัฒนาสมรรถนะระบบราชการ:ศึกษาเฉพาะกรณีกรมโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ศิลปศาสตร (รัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
สมชาย นาท้าว. สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร: กรณีศึกษาสายงานระบบสายส่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
จุฬารัตน์ คำวงศ์ปิ่น. การพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
สนอง ชื่นราพันธุ์. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. การศึกษาอิสระ (รป.ม.) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
พิเศษ ปั้นรัตน์. การศึกษาพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสาย ข. และ ค. ตามหลักสมรรถนะ: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมาธิราช, 2551.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-09-01 (2)
- 2019-07-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.