ผลการจัดบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเอดส์ คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • รวมรัตน์ โชติประยูร โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

บริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังได้รับบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเอดส์เพศหญิง จำนวน 28 คน เพศชาย จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 12-58 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และ 2) บริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย การบริการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย และการให้เงินทุนสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์ รายละ 500 บาท ต่อเดือน แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผ่านการตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.61 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และใช้สถิติอนุมาณ ได้แก่ Paired t-Test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเอดส์ก่อนและหลังรับบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์อยู่ในระดับต่ำ ( = 49.40, 49.32 ) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการจัดบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.88 ( p= 0.05)

เอกสารอ้างอิง

ณัฐชยา ครองยุทธ. การพัฒนาระบบบริการดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลปรางค์กู่อำเภอปรางค์กู่จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์ . นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และ ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2540.

พรรณีศักดิ์ทอง. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2550.

ประทีป ดวงงาม, วัลลภา คชภักดี, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. ระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2555, 15(3); 217-26.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน