พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • เอมอร ส่วยสม โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ยา

บทคัดย่อ

เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากมักมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาจำนวนมาก และก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาตามมา ดังนั้นจึงมีความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรหลักที่มารับบริการในหน่วยบริการ

วิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยดำเนินการศึกษาในผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลแก้งคร้อ และมารับบริการในช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจากแบบสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมโครงการ 60 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.67 อายุเฉลี่ยผู้เข้าร่วมโครงการ 69.30 ปี ใช้ยาเฉลี่ยจำนวน 4.8 ชนิดต่อราย ใช้ยาด้วยตนเอง ร้อยละ 86.67 โดยพบว่ามีพฤติกรรมดังนี้ มีการรับรู้ว่าเมื่อยาเสื่อมสภาพต้องนำไปทิ้งหรือส่งคืนโรงพยาบาล ร้อยละ 58.33  มีการสอบถามบุคลากรทางสาธารณสุขหรืออ่านฉลากซ้ำอีกรอบ เมื่อไม่ทราบวิธีการใช้ยา ร้อยละ 76.67 การรับรู้ว่าเมื่อยาหมดอายุต้องนำไปทิ้งหรือส่งคืนโรงพยาบาล ร้อยละ 53.33 มีการตรวจสอบวิธีการใช้ยา ร้อยละ 63.33 ใช้ยาครบตามที่แพทย์สั่ง ร้อยละ 96.67 ใช้ยาตรงตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 86.67 การปฏิบัติเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคือการไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 56.67 แต่มีการตรวจสอบวันหมดอายุ ร้อยละ 30.00 และด้านการเก็บรักษายามีความเหมาะสม ร้อยละ 26.67

สรุปผลการศึกษา : พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเหมาะสมในด้านความสม่ำเสมอในการใช้ยาครบ ใช้ยาตรงเวลา และการปฏิบัติตนเมื่อไม่ทราบวิธีการใช้ยา แต่ก็มีบางพฤติกรรม เช่น ไม่มีการตรวจสอบวันหมดอายุก่อนการใช้ยา และการเก็บรักษายาที่ไม่มีความเหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากการรับรู้หรือไม่ได้คำแนะนำหรือไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนหรือเกิดจากปัญหาด้านร่างกาย เช่น สายตา ความจำ ปัญหาด้านภาษาที่ระบุไม่ชัดเจน และเป็นภาษาต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงพฤติกรรมดังกล่าวแล้วก็จะได้มีการวางแผนในการดูแลผู้ป่วย และหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

United Nations Population Fund. (2012). Ageing in the twenty-first century: A celebration and a challenge. New York: Author.

อนันต์ อนันตกูล. (ม.ป.ป.). สังคมสูงวัยความท้าทายประเทศไทย รายงานเสนอที่ประชุม ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก. สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา: ม. ป.ท.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : บริษัททีคิวพีจำกัด.

ปราโมทย์ ประสาทกุล.[บรรณาธิการ]. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหา วิทยาลัยมหิดล.

ประเสริฐ อัสสันตชัย.[บรรณาธิการ]. (2554). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการป้องกัน. กรุงเทพฯ : บริษัทยูเนี่ยนครีเอชั่นจำกัด.

โรงพยาบาลแก้งคร้อ. (2563). ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ 2562. ชัยภูมิ : คลินิกโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ โรงพยาบาลแก้งคร้อ.

พิเชฐ สัมปทานุกูล.[บรรณาธิการ]. (2555). หลักการทำวิจัยสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. (2553). ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชน บ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา, 3(1):2-14.

วินิจ เทือกทอง. (2555). การวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา. วารสารครุปริทัศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1):16 -20.

Andrew MK, Purcell CA, Marshall EG, Varatharasan N, Clarke B, Bowles SK. (2018). Polypharmacy and use of potentially inappropriate medications in long term care facilities: does coordinated primary care make a difference?. Int J Pharm Pract, 26(4):318-24.

Zhang Y, Li X, Mao L, Zhang M, Li K, Zheng Y, et al. (2018). Factors affecting medication adherence incommunity-managed patients with hypertension based on the principal component analysis: evidence from Xinjiang, china. Patient preference and adherence, 12:803-12.

จิตชนก ลี้ทวีสุขและคณะ. (2556). พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเชียงทอง ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://med.nu.ac.th. (เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2560).

Becker MH. (1974). The health belief model and role behavior. Health Education Monograph, 2:409-17.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน