ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ Escherichia coli สายพันธุ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ Extended-spectrum beta-lactamase ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วิชัย สิ้นชัยภูมิ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

Escherichia coli, Extended-spectrum beta-lactamase, Cephalosporins, การติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ Escherichia coli (E. coli)  สายพันธ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ Extended spectrum beta-lactamase (ESBL)  ส่งผลต่อการรักษาทางคลินิก ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ E. coli สายพันธุ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ ESBL (ESBL-producing E.coli) ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบ Case-control study ใช้อัตราส่วน 1:1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลชัยภูมิ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีสาเหตุจากเชื้อ E.coli สายพันธุ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ ESBL จำนวน 89 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีสาเหตุจากเชื้อ E.coli ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ ESBLจำนวน 89 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีสาเหตุจากเชื้อ ESBL-producing E.coli โดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก           

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ ESBL-producing E. coli คือ การมีโรคมะเร็ง (ORadj =12.79,95% CI 1.52-107.27, p = 0.019) การใส่เครื่องช่วยหายใจ (ORadj =6.43, 95%CI 2.42-17.08, p <0.001) และประวัติเคยได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporins มาก่อน (ORadj = 14.91, 95%CI 1.81-122.44, p = 0.012)

สรุป: ผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อดังกล่าว นอกจากนั้น การมีประวัติเคยได้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporins มาก่อนก็พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ ESBL-producing E.coli E.coli ดังนั้นก่อนที่จะพิจารณาเลือกใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อของผู้ป่วยโดยที่ยังไม่ทราบชนิดและความไวของเชื้อ ควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงความเสี่ยงต่อการดื้อยาของเชื้อดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง

ภานุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิต, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิมวัฒนานนท์. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3):352-60.

ณรงค์ชัย สังซา, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, พงษ์เดช สารการ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะกับความเสี่ยงในการติดเชื้อ Escherichia coli สายพันธ์ที่สร้างเอนไซม์ Extended spectrum beta-lactamase (ESBL). ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6):551-7.

Tham J, Odenholt I, Walder M, Andersson L, Melander E. (2013). Risk factors for infections with extended spectrum beta-lactamase– producing Escherichia coli in a county of Southern Sweden. Infect Drug Resist, 19(6):93-7.

พเยาวดี แอบไธสง, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์, ประภาส วีระพล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากเชื้อ Escherichia coli และ Klebsiella pneumonia สายพันธ์ดื้อยาชนิดสร้างเอนไซม์ Extended spectrum beta-lactamase ในโรงพยาบาลจังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 22(3):57-67.

Ha YE, Kang CI, Cha MK, Park SY, Wi YM, Chung DR, et al. (2013). Epidemiology and clinical outcomes of bloodstream infections caused by extended spectrum beta-lactamase–producing Escherichia coli in patients with cancer. Int J Antimicrob, 42(5):403-9.

Rodriguez B, Alcara J, Cisnerous JM, Grill F, Oliver A, Horcajada J, et all. (2008). Community infection caused by extended spectrum beta-lactamase (ESBL) – producing Escherichia coli. Arch Intern Med, 168(17):1897-902.

Bradford PA. (2001). Extended spectrum beta-lactamase in the 21st century: characterization, epidemiology, and detection of this important resistance threat. Clin microbial Rev, 14(4):933-51.

Panhotra BR, Saxena AK, AI-Ghamdi AM. (2004). Extended spectrum beta-lactamase-producing Klebseilla pneumoniae hospital acquired bacteremia. Risk factors and clinical outcome. Saudi Med J, 25(12):1871-6.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2560). Percentage of susceptible organism isolated from blood, Jan – Dec 2017 [ไม่ได้ตีพิมพ์]. ชัยภูมิ: กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาล.

Schlesselman JJ. (1974). Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. Am J Epidemiol, 99(6):381-4.

วีรวรรณ ลุวีระ. (2549). การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. สงขลานครินทร์เวชสาร, 24(5):453-9.

เพชรดา ทองเงิน, พีรพัฒน์ ปัญญาดี, คณิต อัศวเทพทวี, อนงค์ คิดดี, อรรถพล ตันไสว, นพวรรณ บุญชู, และคณะ. (2561). ความชุกของเชื้อเอสเชอริเชียโคไลที่สร้างเอนไซม์เอ็กเทนเดด-สเป๊กตรัมบีตาแลคแทมเมสที่แยกได้จากแมลงวันหัวเขียวในจังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19; 9 มีนาคม 2561; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 687-95.

Phadungpattanodom J. (2018). Bacteremia of patient in Pranangklao Hospital. J Med Tech Assoc Thailand Dis, 46(3):6764-78.

Ozqunes I, Erben N, Kirenitci A, Kartal E, Durmaz G, Colak H, Usluer G, Colak E. (2006). The prevalence of extended spectrum beta-lactamase–producing Escherichia coli and Klebsiella pneumoniae in clinical isolates and risk factors. Saudi Med J, 27(5):608-12.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน