ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ สวงโท แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว, ทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิด (Transient Tachypnea of the Newborn : TTN)  เป็นภาวะที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยหลายรายต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น สร้างความกังวลใจแก่บิดามารดา  ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราว (TTN) จำนวน 73 คน และทารกที่ไม่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราว จำนวน 210 คน

ผลการศึกษาพบว่า ทารกกลุ่ม TTN มีอายุครรภ์เฉลี่ยเท่ากับ 37+4 (±1.20) สัปดาห์ เป็นลำดับครรภ์ที่ 1 จำนวน 26 คน (ร้อยละ 35.64) เป็นลำดับครรภ์ที่ 2 จำนวน 27 คน (ร้อยละ 36.99) มารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวาน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 10.96) ทารกเป็นเพศชาย ร้อยละ 61.64 เพศหญิง ร้อยละ 38.36  น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยเท่ากับ 2,922.43 (±619.74) กรัม ส่วนใหญ่คลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด (ร้อยละ 73.97) มีการเร่งคลอด ร้อยละ 21.92 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.48 (±2.06) วัน  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม TTN และกลุ่มที่ไม่เป็น TTN พบว่า ในกลุ่ม TTN มารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวาน คลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด และจำนวนวันนอนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น TTN อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.028, p=0.0016 และ p<0.001 ตามลำดับ)  ส่วนอายุครรภ์เฉลี่ยและน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยในกลุ่ม TTN น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น TTN  อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001 และ p= 0.043)  เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธี multivariate analysis พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะ TTN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน การผ่าตัดคลอด และ อายุครรภ์น้อยกว่า 38 สัปดาห์ โดยเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ TTN เป็น 2.03 เท่า (IRR 2.03, 95%CI=1.23-3.35, p= 0.006), 1.79 เท่า (IRR 1.79, 95%CI=1.13-2.83, p=0.014) และ 1.57 เท่า (IRR 1.57, 95%CI=1.04-2.37, p=0.032) ตามลำดับ

สรุป ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะ TTN ของทารกแรกเกิดโรงพยาบาลชัยภูมิ คือ มารดาเป็นเบาหวาน การผ่าตัดคลอด และ อายุครรภ์น้อยกว่า 38 สัปดาห์ ดังนั้นการเลือกวิธีคลอดและอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการผ่าตัดคลอด อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะ TTN ได้

เอกสารอ้างอิง

Taussig Lynn M, Landau Louis I. (1942). Pediatric Respiratory Medicine. St. Louis : Mosby, 471-85.

Gross TL, Sokol RJ, Kwong MS, Wilson M, Kuhnert PM. (1983). Transient tachypnea of the newborn: the relationship to preterm delivery and significant neonatal morbidity. Am J Obstet Gynecol, 146(3):236-41.

Perez Molina JJ, Romero DM, Ramirez Valdivia JM, Corona MQ. (2006). Transient tachypnea of the newborn, obstetric and neonatal risk factors. Ginecol Obstet Mex, 74(2):95-103.

Zanardo V, Simbi AK, Savio V, Micaglio M, Trevisanuto D. (2004). Neonatal resuscitation by laryngeal mask airway after elective cesarean section. Fetal Diagn Ther, 19(3):228-31

ทิพวัลย์ ลิ่มลิขิต. (2558). ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะทารกหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม: วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(2):59-68.

อรุณวรรณ พฤทธิพันธ์ และคณะ. [บรรณาธิการ]. (2550). การบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก: สำหรับแพทย์และพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, 439-40.

สุวรรณ ชัยสมฤทธิ์ผล. (2552). ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). วารสารกุมารเวชศาสตร์, เมษายน-มิถุนายน:165-9.

Levine EM, Ghai V, Barton JJ, Strom CM. (2001). Mode of Delivery and Risk of Respiratory Diseases in Newborns. Obstet Gynecol, 97(3):439-42.

Greenough A, Lagercrantz H. (1992). Catecholamine abnormalities in transient tachypnea of the premature newborn. J Perinat Med, 20(3):223-6.

Jain L, Eaton DC. (2006). Physiology of fetal lung fluid clearance and the effect of labor. Semin Perinatol, 2006; 30(1):34-43.

Zanardo V, Simbi AK, Vedovato S, Trevisanuto D. (2004). The influence of timing of elective cesarean section on neonatal resuscitation risk. Pediatr Crit Care Med, 5(6):566-70.

Zanardo V, Simbi AK, Franzoi M, Solda G, Salvadori A, Trevisanuto D. (2004). Neonatal respiratory morbidity risk and mode of delivery at term: influence of timing of elective cesarean delivery. Acta Paediatr, 93(5):643-7.

Persson B, Hanson U. (1998). Neonatal morbidities in gestational diabetes mellitus. Diabetes Care, 21(Suppl 2):B79-84.

T Kawakita, K Bowers, S Hazrati, C Zhang, J Grewal, Z Chen, et al. (2017). Increased Neonatal respiratory morbidity associated with gestational and pregestational diabetes : a retrospective study.

Am J Perinatol, 34(11):1160-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน