ผลของการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองด้วยแบบคัดกรองแบบสั้น โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย งานไว โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การดูแลประคับประคอง, การคัดกรอง

บทคัดย่อ

การดูแลประคับประคองเป็นการดูแลผู้ป่วยมีโรคคุกคามต่อชีวิตหรือโรคที่รักษาไม่หาย โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานซึ่งการดูแลประคับประคองช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เข้าถึงการดูแลประคับประคองส่งผลให้มีการนอนโรงพยาบาลบ่อยครั้ง  ได้ทำการรักษาที่อาจจะไม่เกิดประโยชน์ต่อพยากรณ์โรคของผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต การให้เลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเพิ่มภาระงาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองภายหลังการใช้แบบคัดกรองแบบสั้นในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

กลุ่มตัวอย่างและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) ศึกษาผลการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองก่อนใช้แบบคัดกรองแบบสั้นในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ โดยเปรียบเทียบผลการคัดกรองก่อนใช้แบบคัดกรองแบบสั้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2562 กับผลการคัดกรองหลังใช้แบบคัดกรองแบบสั้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - วันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยศึกษาข้อมูลการวินิจฉัยของแพทย์ ที่ลงบันทึกในเวชระเบียน และข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ, อายุ, Palliative Performance Scale

ผลการศึกษา : ผลการคัดกรองก่อนใช้แบบคัดกรองแบบสั้นมีการปรึกษา 99 ครั้ง เป็นผู้ป่วยชนิดมะเร็ง 64 ราย (64.6%) ผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็ง 35 ราย (35.4%) Palliative Performance Scale เฉลี่ย 34.7 คะแนน โรคที่ปรึกษามากที่สุด คือ Cholangiocarcinoma 16 ราย (16.2%) รองลงมาคือ Sepsis 11 ราย (11.1%) โรคถัดมาคือ CKD stage 5 10 ราย (10.1%)

ผลการคัดกรองหลังใช้แบบคัดกรองแบบสั้นมีการปรึกษา 133 ครั้ง เป็นผู้ป่วยชนิดมะเร็ง 77 ราย (53.4%) ผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็ง 62 ราย (46.6%) Palliative Performance Scale เฉลี่ย 46.2 คะแนน โรคที่ปรึกษามากที่สุด คือ Sepsis 24 ราย (18%) รองลงมาคือ Liver cancer 15 ราย (11.3%) โรคถัดมาคือ CKD stage 5 14 ราย (10.5%)

สรุป : การใช้แบบคัดกรองแบบสั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมความตระหนักในการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองและมีความเข้าใจเกณฑ์การคัดกรองมากขึ้น ส่งผลให้คัดกรองผู้ป่วยประคับประคองได้มากขึ้น มีอัตราส่วนของผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็งเพิ่มมากขึ้น และมีการปรึกษาเร็วขึ้น

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. (‎2002)‎. National cancer control programmes : policies and managerial guidelines. 2nd ed. World Health Organization..

World Health Organization. WHO definition of palliative care. Available at: https://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/. [Accessed Jan 20, 2020]

พรทวี ยอดมงคล. (2561). การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). หน้า 2-6

World Health Organization. (2014). Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment throughout the life course. Journal of Pain & Palliative Care Pharmacotherapy, 28(2):130-4.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กล่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หน้า 66-7.

Romano AM, Gade KE, Nielsen G, Havard R, Harrison JH, Barcla J, et al. (2017). Early Palliative Care Reduces End-of-Life Intensive Care Unit (ICU) Use but Not ICU Course in Patients with Advanced Cancer. The Oncologist, 22(3):318–23.

World Health Organization. The top ten causes of death. Available at: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death. [Accessed Jan 20, 2020].

Gadoudl A, Kane E, Macleod U, Ansell P, Oliver S & Johnson M. (2014). Palliative care among heart failure patients in primary care: A comparison to cancer patients using English family practice data. PLoS ONE, 9(11):e113188.

Zheng L, Anne M, Oxenham D, McLoughlin P, McCutcheon H & Scott A. (2013). How good is primary care at identifying patients who need palliative care? A mixed methods study. European Journal of Palliative Care, 20(5):216–222.

Mei-Ling C. (2019). Inequity of Palliative Care for Non-Cancer Patients. Journal of Nursing Research, 27(2):1-2.

Stephanie S, Maria H, Andreas S, Tobias F, Roland M, Christoph O. (2015). Comparison of terminally ill cancer- vs. noncancer patients in specialized palliative home care in Germany–a single service analysis. BMC Palliative Care, 14:34.

Dean S. (2016). When to Refer to Palliative Care. Prim Care Companion CNS Disord, 18(6):doi:10.4088/PCC.16f02074

Hablas A. (2011). Palliative Care in Egypt: Challenges and Opportunities. Journal of Pediatric Hematology Oncology, 33(Suppl 1):S52-3.

Gian DB, Emmanuel T. (2018). Assessment measures in palliative care: The risk of inflation and the importance of listening to the patient's story. Palliative & Supportive Care, 16(1):1-2.

Teme JS, Greer JA, Muzikansky A, Gallagher ER, Admane S, Jackson VA, et al. (2010). Early Palliative Care for Patients with Metastatic Non–Small-Cell Lung Cancer. N Engl J Med, 363(8):733-42.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์. (2560). Handbook for Palliative Guidelines. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 1-5

Davide T, Fabrizio D, Maria CM, Lucia S, Isabella F, Andrea M, et al. (2016). Early Palliative Care in Advanced Oncologic and Non-Oncologic Chronic Diseases: A Systematic Review of Literature. Reviews on Recent Clinical Trials, 11(1):63-71.

Camilla Z, Nadia S, Monika K, Breffni H, Natasha L, Amit O, et al. (2014). Early palliative care for patients with advanced cancer: a cluster-randomised controlled trial. The Lancet, 383(9930):1721-30.

Kyeremanteng K, Gagnon LP, Thavorn K, Heyland D, D'Egidio G. (2018). The Impact of Palliative Care Consultation in the ICU on Length of Stay: A Systematic Review and Cost Evaluation. J Intensive Care Med, 33(6):346-53.

Sean M, Jessica D, Susan L, Timothy Q, Joseph S, John T, et al. (2011). Palliative Care Consultation Teams Cut Hospital Costs For Medicaid Beneficiaries. Health Aff (Millwood), 30(3):454-63.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน