This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Outcome of short palliative screening form in PhuKhieoChalermPraKiat Hospital Chaiyaphum Province = ผลของการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองด้วยแบบคัดกรองแบบสั้น โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Chutchai Nganwai

บทคัดย่อ

Abstract

Palliative care is specialized medical care for patients with life-threatening or incurable illnesses. It emphasizes the prevention and relief of painful symptoms. The goal of palliative care is to alleviate the quality of life of the patient. A large number of patients do not have access to palliative care, resulting in frequent admissions and treatments that do not benefit the diagnosis of the illness such as endotracheal intubation, intensive care, blood transfusion, and using antibiotics. These treatments unnecessarily increase the medical cost and burden of staff.

                Objective: To examine the result of screening palliative care patients after using short palliative screening  form at PhuKhieoChalermPraKiat Hospital

                Method and material: This research is a retrospective study that examines the result of screening palliative care patients after using short palliative screening  form at PhuKhieoChalermPraKiat Hospital, Chaiyaphum Province. The data were collected from 1 April 2019 to 31 March 2020 to compare with the result of short palliative screening  form collected from 1 October 2019 – 31 March 2020. The data were retrieved from diagnostic data in the medical records and personal information, including gender, age, and Palliative Performance Scale.

                Results: There were 99 cases using the traditional screening method, including 64 cases of cancer (64.6%) and 35 cases of non-cancer (35.4%). The mean Palliative Performance Scale was 34.7. The most consulted disease was cholangiocarcinoma, accounting for 16 cases (16.2%), followed by 11 cases of sepsis (11.1%), and 10 cases of CKD stage 5 (10.1%).

                There were 133 cases using the short palliative screening  form, including 77 cases of cancer (53.4%) and 62 cases of non-cancer (46.6%). The mean Palliative Performance Scale was 46.2. The most consulted disease was sepsis, accounting for 24 cases (18%), followed by 15 cases of liver cancer (11.3%), and 14 cases of CKD stage 5 (10.5%).

                Conclusion: The short palliative screening  form is a tool that raises awareness of identifying palliative care patients and allows staff to understand the screening criteria better. Therefore, the short screening method can identify more palliative care patients, show a higher rate of non-cancer cases, and facilitate faster consultation.

Keywords: palliative care, screening

 

บทคัดย่อ

การดูแลประคับประคองเป็นการดูแลผู้ป่วยมีโรคคุกคามต่อชีวิตหรือโรคที่รักษาไม่หาย โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานซึ่งการดูแลประคับประคองช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เข้าถึงการดูแลประคับประคองส่งผลให้มีการนอนโรงพยาบาลบ่อยครั้ง  ได้ทำการรักษาที่อาจจะไม่เกิดประโยชน์ต่อพยากรณ์โรคของผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต การให้เลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเพิ่มภาระงาน

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองภายหลังการใช้แบบคัดกรองแบบสั้นในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

                กลุ่มตัวอย่างและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) ศึกษาผลการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองก่อนใช้แบบคัดกรองแบบสั้นในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิโดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563 เปรียบเทียบกับผลการคัดกรองหลังใช้แบบคัดกรองแบบสั้นซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - วันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยศึกษาข้อมูลการวินิจฉัยของแพทย์ ที่ลงบันทึกในเวชระเบียน และข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ, อายุ , Palliative Performance Scale

ผลการศึกษา : ผลการคัดกรองก่อนใช้แบบคัดกรองแบบสั้นมีการปรึกษา 99 ครั้ง เป็นผู้ป่วยชนิดมะเร็ง 64 ราย (64.6%) ผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็ง 35 ราย (35.4%) Palliative Performance Scale เฉลี่ย 34.7 คะแนน โรคที่ปรึกษามากที่สุด คือ Cholangiocarcinoma 16 ราย (16.2%) รองลงมาคือ Sepsis 11 ราย (11.1%) โรคถัดมาคือ CKD stage 5 10 ราย (10.1%)

ผลการคัดกรองหลังใช้แบบคัดกรองแบบสั้นมีการปรึกษา 133 ครั้ง เป็นผู้ป่วยชนิดมะเร็ง 77 ราย (53.4%) ผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็ง 62 ราย (46.6%) Palliative Performance Scale เฉลี่ย 46.2 คะแนน โรคที่ปรึกษามากที่สุด คือ Sepsis 24 ราย (18%) รองลงมาคือ Liver cancer 15 ราย (11.3%) โรคถัดมาคือ CKD stage 5 14 ราย (10.5%)

                สรุป : การใช้แบบคัดกรองแบบสั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมความตระหนักในการคัดกรองผู้ป่วยประคับประคองและมีความเข้าใจเกณฑ์การคัดกรองมากขึ้น ส่งผลให้คัดกรองผู้ป่วยประคับประคองได้มากขึ้น มีอัตราส่วนของผู้ป่วยชนิดไม่ใช่มะเร็งเพิ่มมากขึ้น และมีการปรึกษาเร็วขึ้น

คำสำคัญ : การดูแลประคับประคอง,การคัดกรอง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน