การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีการแตกของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์, การพยาบาลบทคัดย่อ
ภาวะที่มีการแตกของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอุบัติการณ์ต่ำ แต่เป็นภาวะคุกคามต่อชีวิตทั้งมารดาและทารก กรณีศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีการแตกของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ และการทบทวนเวชระเบียนที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8 เมษายน -16 พฤษภาคม 2563 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 27 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ มาด้วยอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง 5 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล โดยไม่มีอาการท้องปั้นแข็ง หรืออาการน้ำเดิน ผล ultrasound พบ pelvic mass ขนาด 7 x 7 ซ.ม. ร่วมกับ Fetal distress แพทย์รับไว้รักษาในโรงพยาบาล วันที่ 8 เมษายน 2563 และส่งผ่าตัด Caesarean Section with B-lynch procedure พบ hematoma at Lt. adnexa anterior cul-de-sac with blood clot 1,000 c.c. จึงใส่ swab เพื่อห้ามเลือด และทำผ่าตัด Re-explored laparotomy with off swab วันที่ 10 เมษายน 2563 ผู้ป่วยรับการรักษาพยาบาลภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระหว่างวันที่ 8 – 11 เมษายน 2563 ย้ายมาหอผู้ป่วยหลังคลอดเพื่อให้การรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องและเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน จำหน่ายทุเลาวันที่ 16 เมษายน 2563 การวินิจฉัยสุดท้าย Rupture Endometrioma รายงานผลชิ้นเนื้อวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 พบว่าเป็น Ovarian cyst กรณีศึกษานี้ ผู้ศึกษาพบว่าการประเมินสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของพฤติกรรม 4 ด้านของผู้ป่วยและญาติ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาท และด้านการพึ่งพาอาศัย สามารถนำไปตั้งค่าเป้าหมายและการวางแผนการพยาบาลให้มีความครอบคลุมทั้งกาย จิต สังคมอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวผู้ป่วยให้เหมาะสมกับระยะก่อนผ่าตัด หลังการผ่าตัด และก่อนกลับบ้านได้อย่างมีประสิทธิผล
เอกสารอ้างอิง
Maggiore ULR, Ferrero S, Mangili G, Bergamini A, Inversetti A, Giorgione V, et al. (2016). A systematic review on endometriosis during pregnancy: diagnosis, misdiagnosis, complications and outcomes. Human Reproduction Update, 22(1):70-103.
ประนอม บุพศิริ. (2010). ก้าวทันโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่. Srinagarind Med Journal, 25(Suppl):19–23.
Bulun SE. (2009). Endometriosis. New England Journal of Medicine, 360(3):268-79.
Giudice LC. (2010). Clinical Practice. Endometriosis. N Engl J Med, 362(25):2389-98.
Sanchez AM, Viganò P, Somigliana E, Panina-Bordignon P, Vercellini P, et al. (2014). The distinguishing cellular and molecular features of the endometriotic ovarian cyst: from pathophysiology to the potential endometrioma-mediated damage to the ovary. Hum Reprod Update, 20(2):217-30.
Leiserowitz GS, Xing G, Cress R, Brahmbhatt B, Dalrymple JL, Smith LH. (2006). Adnexal masses in pregnancy: How often are they malignant?. Gynecologic Oncology, 101(2):315-21.
Ueda Y, Enomoto T, Miyatake T, Fujita M, Yamamoto R, Kanagawa T. et al. (2010). A retrospective analysis of ovarian endometriosis during pregnancy. Fertility and Sterility, 94(1):78-84.
Brosens IA, Fusi L, Brosens JJ. (2009). Endometriosis is a risk factor for spontaneous hemoperitoneum during pregnancy. Fertility and Sterility, 92(4):1243-5.
Lier M CI, Malik RF, Ket JCF, Lambalk CB, Brosens IA, Mijatovic V. (2017). Spontaneous hemoperitoneum in pregnancy (SHiP) and endometriosis - A systematic review of the recent literature. European Journal of Obstetrics and Gynecology and Reproductive Biology, 219:57-65.
Petresin J, Wolf J, Emir S, Müller A, Boosz AS. (2016). Endometriosis-associated Maternal Pregnancy Complications - Case Report and Literature Review. Geburtshilfe Und Frauenheilkunde, 76(8):902-5.
Saraswat L, Ayansina D, Cooper K, Bhattacharya S, Miligkos D, Horne A, et al. (2017). Pregnancy outcomes in women with endometriosis: a national record linkage study. BJOG, 124(3), 444-52.
Roy SC. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). Upper Saddle River, N.J. : Pearson.
อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารการพยาบาลทหารบก, 15(3):137-43.
ศรัณยา แสงมณี, มณี อาภานันทิกุล, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2555). กรณีศึกษา: การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงานนอกบ้าน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(1):119-33.
Ursavaş FE, Karayurt Ö, İşeri Ö. (2014). Nursing Approach Based on Roy Adaptation Model in a Patient Undergoing Breast Conserving Surgery for Breast Cancer. J Breast Health, 10(3):134-40.
Jennings K M. (2017). The Roy Adaptation Model: A Theoretical Framework for Nurses Providing Care to Individuals with Anorexia Nervosa. ANS Adv Nurs Sci, 40(4):370-83.
Maul LV, Morrision JE, Schollmeyer T, Alkatout I, Mettler L. (2014). Surgical Therapy of Ovarian Endometrioma: Recurrence and Pregnancy Rates. Journal of The Society of Laparoscopic & Robotic Surgeons, 18(3):e2014.00223.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-18 (2)
- 2020-08-20 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.