This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

The Precipitation Inspection by Using The Software together with Applied Graphs compared with Using The Standard Graphs In Total Parenteral Nutrition given to Newborns in Chaiyaphum Hospital : การตรวจสอบการตกตะกอนโดยใช้ Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ เปรียบเทียบกับใช้กราฟมาตรฐาน ในสารอาหารให้ทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Umnat Sukudom
  • Patanapong Phaktiyanuwat

บทคัดย่อ

Abstract

The objective of this quasi-experimental research were to study and compare the precipitation of calcium phosphate in total parenteral nutrition (TPN) between the methods using the standard graphs and the software together with applied graphs. Sample groups included neonatal patients, neonatal wards and the Neonatal Intensive Care Unit  in Chaiyaphum Hospital received TPN between July - September 2019, total 112 persons. The research instrument were the data recording form which has been verified for accuracy by 3 experts; consists of 3 parts which are general characteristics, TPN information and precipitation data. Data were collected by studying TPN orders, reading precipitation results, and checking the difficulty of reading results by using standard graphs. Then, read the precipitation results and check the difficulty of reading the results again with software in conjunction with the applied graphs. Data were analyzed using descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation, median, Interquartile range, minimum and maximum beside the inferential statistics like McNemar Chi-square also used in statistical analysis.

The results showed that the precipitation result using standard graphs of 4.5% was found, equal as when re-examined by software together with applied graphs. The same result was found (p = 1.000). As for the difficulty in reading precipitation results was found that checking with the standard graphs is 7.1%, while the difficulty when reading the results using software with applied graphs would reduce to only 0.9 %, different statistically significant (p = .016).

From these findings shows that Chaiyaphum Hospital should use software together with applied graphs to check the precipitation of calcium phosphate in TPN. Besides this method is easier to read than with the standard graphs, it is still faster. Since there is no need to write graphs manually and can also reduce errors from calculations by using calculation software. The software used is Microsoft Excel which can be used as a prototype for development or adapted for use in other hospitals that has a similar context to Chaiyaphum Hospital.

Keyword: Calcium phosphate, Precipitation inspection, Total parenteral nutrition (TPN)

 

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตรวจสอบการตกตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟต ในสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (TPN) ระหว่างวิธีการใช้กราฟมาตรฐาน และวิธีการใช้ Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลชัยภูมิ ที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ ระหว่างกรกฎาคม - กันยายน 2562 จำนวน 112 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป ข้อมูลสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ และข้อมูลการตรวจสอบการตกตะกอน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากใบสั่ง TPN นำมาอ่านผลการตกตะกอนพร้อมทั้งตรวจสอบความยากในการอ่านผลโดยใช้กราฟมาตรฐาน จากนั้นอ่านผลการตกตะกอนและตรวจสอบความยากในการอ่านผลซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน interquartile range ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่  McNemar Chi-square ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

การตรวจสอบการตกตะกอนด้วยกราฟมาตรฐาน พบการตกตะกอนร้อยละ 4.5 และเมื่อนำมาตรวจสอบซ้ำด้วย Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ พบผลการตรวจสอบเป็นเช่นเดียวกัน (p = 1.000) ส่วนความยากในการอ่านผลการตกตะกอน จะพบว่าการตรวจสอบด้วยกราฟมาตรฐานมีความยากในการอ่านผลร้อยละ 7.1 ในขณะที่ความยากในการอ่านผลเมื่ออ่านด้วย Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ จะลดความยากในการอ่านผลลงเหลือเพียงร้อยละ 0.9 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .016) 

จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลชัยภูมิควรใช้ Software ร่วมกับกราฟประยุกต์ ตรวจสอบการตกตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟตใน TPN เพราะนอกจากจะอ่านผลได้ง่ายกว่าการด้วยตรวจสอบด้วยกราฟมาตรฐานแล้ว ยังสะดวกรวดเร็วกว่า เนื่องจากไม่ต้องเขียนกราฟด้วยตนเอง และยังสามารถลดข้อผิดพลาดจากการคำนวณ เนื่องจากใช้ Software คำนวณนั่นเอง โดย Software ที่ใช้คือ Microsoft Excel ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนา หรือนำไปปรับใช้ในโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงพยาบาลชัยภูมิได้

คำสำคัญ: แคลเซียมฟอสเฟต การตรวจสอบการตกตะกอน สารอาหารให้ทางหลอดเลือดดำ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน