การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดรัฐบาล อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • โรจกร ลือมงคง โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นจะมีความสัมพันธ์กับการมีคู่นอนหลายคนในชีวิต ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอชไอวี/โรคเอดส์ รวมถึงปัญหาของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

วิธีการทำวิจัย: การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดรัฐบาล 4 แห่งในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2563 โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติกแสดงผลด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI)

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 640 ราย มีอายุอยู่ระหว่าง 12-18 ปี โดยกลุ่มตัวอย่าง 88 ราย (ร้อยละ13.75) มีประวัติว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ในจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์นั้น พบว่า 17 ราย (ร้อยละ 19.32) ให้ประวัติว่ามีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนอายุ 15 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์เกินกว่าครึ่ง (ร้อยละ 62.50) ให้เหตุผลของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกว่าเกิดจากความรัก และร้อยละ 35.23 ให้เหตุผลว่าเกิดจากแรงปรารถนาทางเพศ นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า มีเพียง 50 รายเท่านั้น (ร้อยละ56.81) ที่ให้ประวัติว่าคู่นอนได้ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติกพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ > 15 ปี (ORadj =  4.83, 95%CI: 2.72-8.57, p < 0.001) การไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง  (ORadj =  48.54, 95%CI: 3.62-650.45, p = 0.003) และประวัติเคยดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj =  8.78, 95%CI: 4.99-15.45, p < 0.001)

สรุปการวิจัย: จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยจึงแนะนำแนวทางการดำเนินงานที่จะลดการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนซึ่งควรที่จะคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

เอกสารอ้างอิง

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). วัยรุ่นไทยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2):173-82.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น. [ออนไลน์]. จาก http://rh.anamai.moph.go.th/dowload/all_file/index/situation/FactSheet@62.pdf [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562]

โรงพบาลคอนสวรรค์. (2562). การคลอดบุตรในหญิงวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ในช่วงปี 2559-2561. [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสวรรค์.

กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี. [ออนไลน์]. จาก http://

healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/

?id=1017. [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562]

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2):9-18.

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น. [ออนไลน์]. จาก http://rh.amamai.moph.go.th/download/all_file/brochure/FinalAW.pdf [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562]

Ethier KA, Kann L, McManus T. (2018). Sexual intercourse among high school students-29 states and United states overall, 2005-2015. MMWR Morb Mortal Wkly Rep, 66(51-52):1393-7.

Kongoun W, Suthutvoravut S. (2016). Factors associated with sexual intercourse among female teenagers in Ubon Ratchathani province. Rama Med J, 39(3):187-93.

กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562. [ออนไลน์]. จาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index/RH_2562_Website.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562]

Penfold SC, Teijlingen E, Tucker JS. (2009). Factors associated with self-reported first sexual intercourse in Scottish adolescents. BMC Research Notes, 2(42):1-6.

Ruiz PR, Molinero LR, Miguelsanz JMM, Rodrigue VC. (2015). Risk fators for early sexual debut in adolescents. Rev Pediatr Aten Primaria, 17(66):127-36.

อรทัย วลีวงศ์. มองรอบด้าน ‘‘นักดื่มวัยรุ่นกับแม่ในวัยเรียน’’ [ออนไลน์]. จาก https://www.thaihealth.or.th/data/ecatalog/256/pdf/256.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562]

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน