ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วรณัน ปานทอง โรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

 ปวดเรื้อรัง, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสถานพยาบาล แต่ละปีต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ การหยุดงาน และค่าชดเชยจำนวนมาก การทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังจะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น อันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว ลดอัตราการใช้ยา และประโยชน์ในด้านคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของประเทศ 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังของผู้ที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytic study)

ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี systematic sampling ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จากประชากรที่มารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผลการศึกษา: ประชากรศึกษาทั้งหมด 400 คน เป็นเพศหญิง 60.7% เพศชาย 39.3% อายุเฉลี่ย 48.58±14.7 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 42.5% จากประชากรที่ศึกษาทั้งหมด พบว่ามีการปวดเรื้อรัง 42.0% ปวดเฉียบพลัน 31.5% ไม่ปวด 26.5% เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก พบความสัมพันธ์ระหว่างการปวดเรื้อรังกับตัวแปรดังต่อไปนี้ คือ อายุ ≥ 45 ปี, โรคปวดข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ, มีอาหารอย่างน้อย 1 อย่าง ทำให้ปวดมากขึ้น โดยมีค่า adjusted Odd Ratio [95%CI] เป็น 2.14 [1.09, 4.21], 24.01 [6.79, 84.88], และ 6.61 [3.34, 13.09]  ตามลำดับ และเมื่อนำอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ทำให้อาการปวดมากขึ้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างการปวดเรื้อรังกับอาหารชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ หน่อไม้, เนื้อไก่, เครื่องในสัตว์, ขนมจีน, ผักดอง, แหนม, หม่ำ, และไส้กรอกอีสาน โดยมีค่า Odds Ratio [95%CI] เป็น 5.78 [3.09, 10.80], 3.95 [1.90, 8.21], 3.48 [1.61, 7.50], และ 2.32 [1.24, 4.34] ตามลำดับ      

สรุป: การปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นภาระของหน่วยบริการในการดูแลรักษา คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังได้แก่อายุ ≥ 45 ปี, โรคปวดข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ และอาหารจำพวกหน่อไม้, เนื้อไก่, เครื่องในสัตว์, ขนมจีน, ผักดอง, แหนม, หม่ำ, ไส้กรอกอีสาน จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงไม่ทานอาหารเหล่านี้

เอกสารอ้างอิง

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

MGR Online. คนวัยทำงาน 1 ใน 5 คน เสี่ยงป่วย ออฟฟิศซินโดรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.munnook.com/index.php?topic=662.0 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563]

Daniel B. Carr, [Editor]. (2003). How Prevalent Is Chronic Pain?. International Association for the Study of Pain, 11(2).

AM Elliott, BH Smith, KI Penny, WC Smith, WA Chambers. (1999). The epidemiology of chronic pain in the community. Lancet, 354(9186):1248-52.

S Bergman, P Herrström, K Högström, IF Petersson, B Svensson and LT Jacobsson. (2001). Chronic musculoskeletal pain, prevalence rates, and sociodemographic associations in a Swedish population study. J Rheumatol, 28(6):1369-77.

Pekka Mantyselka, Juhani Miettola, Leo Niskanen, Esko Kumpusalo. (2008). Chronic pain, impaired glucose tolerance and diabetes:A community-based study. Pain, 137(1):34-40.

วัลลภ พรเรืองวงศ์. ปวดเรื้อรังหาสาเหตุไม่พบ อาจขาดวิตามิน D. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://gotoknow.org/blog/health2you/200506 [เข้าถึงเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2563].

วัลลภ พรเรืองวงศ์. วิตามิน D ต้านอาการปวดเรื้อรัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/health2you/2010/03/15/entry-1 [เข้าถึงเมื่อวันที่15 พฤศจิกายน 2563].

Look4Thailand. ปวดหลังเรื้อรัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.look4thailand.com/healthy/health-reviews [เข้าถึงเมื่อวันที่24 พฤศจิกายน 2563].

H. Ingemar Andersson, Ido Leden. (2012). Serum uric acid predicts changes in reports of non-gouty chronic pain: a prospective study among women with inflammatory and non-inflammatory pain. Rheumatol Int, 32(1):193-8.

R Villegas, Y-B Xiang, T Elasy, WH Xu, H Cai, Q Cai, et al. (2012). Purine-rich foods, protein intake, and the prevalence of hyperuricemia: The Shanghai Men’s Health Study. Nutr Metab Cardiovasc Dis, 22(5):409-16.

James S Khan, Jennifer M Hah, Sean C Mackey. (2019). Effects of Smoking on Patients With Chronic Pain. A Propensity-weighted Analysis on the Collaborative Health Outcomes Information Registry. Pain, 160(10):2374-9.

Tracey Bear, Michael Philipp, Stephen Hill, Toby Mündel. (2016). A preliminary study on how hypohydration affects pain perception. Psychophysiology, 53(5):605-10.

EE Clarke, LS Levy, A Spurgeon, IA Calvert. (1997). The problems associated with pesticide use by irrigation workers in Ghana. Occup Med (Lond), 47(5):301-8.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สมาคมฯ.

อมร เปรมกมล, วัฒนะ ดิฐสถาพรเจริญ, มุกดา วิเชียร, ศรีน้อย มาศเกษม, บังอรศรี จินดาวงค์ และ พจน์ ศรีบุณลือ. (2550). ความชุกของกลุ่มอาการอีสานรวมมิตรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชุมชนชนบท จ.ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 22(4):384-93.

Aarflot T, Laerum E, Bruusgaard D. (1992). Uric acid and chronic musculoskeletal complaints. Scand J Rheumatol, 21(6):277-82.

Amorn Premgamone, Thanaput Ditsatapornjaroen, Bangornsri Jindawong, Napaporn Krusun, Pattapong Kessomboon. (2011). The Prevalence of Hyperuricemia and Associated Factors in the Rural Community, Khon Kaen Province. Srinagarind Medical Journal, 26(1):41-7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน