This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

Factors Associated with Chronic Pain in Chatturat Hospital, Chaiyaphum Province

ผู้แต่ง

  • วรณัน ปานทอง Chatturat Hospital, Chaiyaphum Province

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสถานพยาบาล แต่ละปีต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ การหยุดงาน และค่าชดเชยจำนวนมาก การทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังจะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น อันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว ลดอัตราการใช้ยา และประโยชน์ในด้านคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของประเทศ 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังของผู้ที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytic study)

ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี systematic sampling ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จากประชากรที่มารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผลการศึกษา: ประชากรศึกษาทั้งหมด 400 คน เป็นเพศหญิง 60.7% เพศชาย 39.3% อายุเฉลี่ย 48.58±14.7 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 42.5% จากประชากรที่ศึกษาทั้งหมด พบว่ามีการปวดเรื้อรัง 42.0% ปวดเฉียบพลัน 31.5% ไม่ปวด 26.5% เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก พบความสัมพันธ์ระหว่างการปวดเรื้อรังกับตัวแปรดังต่อไปนี้ คือ อายุ ≥ 45 ปี, โรคปวดข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ, มีอาหารอย่างน้อย 1 อย่าง ทำให้ปวดมากขึ้น โดยมีค่า adjusted Odd Ratio [95%CI] เป็น 2.14 [1.09, 4.21], 24.01 [6.79, 84.88], และ 6.61 [3.34, 13.09]  ตามลำดับ และเมื่อนำอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ทำให้อาการปวดมากขึ้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างการปวดเรื้อรังกับอาหารชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ หน่อไม้, เนื้อไก่, เครื่องในสัตว์, ขนมจีน, ผักดอง, แหนม, หม่ำ, และไส้กรอกอีสาน โดยมีค่า Odds Ratio [95%CI] เป็น 5.78 [3.09, 10.80], 3.95 [1.90, 8.21], 3.48 [1.61, 7.50], และ 2.32 [1.24, 4.34] ตามลำดับ      

สรุป: การปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นภาระของหน่วยบริการในการดูแลรักษา คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปวดเรื้อรังได้แก่อายุ ≥ 45 ปี, โรคปวดข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ และอาหารจำพวกหน่อไม้, เนื้อไก่, เครื่องในสัตว์, ขนมจีน, ผักดอง, แหนม, หม่ำ, ไส้กรอกอีสาน จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงไม่ทานอาหารเหล่านี้

 คำสำคัญ : ปวดเรื้อรัง, ปัจจัยเสี่ยง

 

Background: Chronic pain is a common problem in medical care consuming large economic resources. Better understanding about its associated factors will guide us to proper management. This should be resulting in lowering cost, reducing drug use and improving quality of life.

Objective: To determine factors associated with chronic pain in Chatturat hospital, Chaiyaphum Province.

Method: A cross-sectional analytic study in Chatturat hospital, Chaiyaphum Province. Subjects aged ≥25 years old, were randomly selected by systematic sampling.

Results: A total of 400 individuals participated, 60.7% were female, 39.3% were male, average age was 48.58 ±14.7 years and most of them were farmers (42.5%). Types of pain were chronic pain (42.0%), acute pain (31.5%) and no pain (26.5%). Using multivariate logistic regression analysis, it was found that chronic pain was associated with people aged ≥45 (adjusted Odds Ratio = 2.14; 95%CI: 1.09, 4.21), musculoskeletal disorders (adjusted Odds Ratio = 24.01; 95%CI: 6.79, 84.88), and some food intake (adjusted Odds Ratio = 6.61; 95%CI: 3.34, 13.09). Foods associated with chronic pain were bamboo shoot (OR=5.78; 95%CI: 3.09, 10.80), chicken (OR=3.95; 95%CI:1.90, 8.21), animal entrails (OR=3.48; 95%CI: 1.61, 7.50), rice vermicelli and preserved food (OR=2.32; 95%CI:1.24, 4.34).

Conclusions: Nearly half of the patients suffered from chronic pain. Factors associated with chronic pain were people aged 45 or older, musculoskeletal disorders, certain kinds of food such as bamboo shoot, chicken, animal entrails, rice vermicelli and preserved food. It should therefore be advisable for patients with chronic pain to avoid such kinds of food.

 Keywords: Chronic pain, Factor

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-02

เวอร์ชัน