การศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
Incidence and causes of neonatal jaundice in neonates at PhuKieochalermprakiat Hospital, Chaiyaphum Province
Abstract
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทางคลินิกและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีแนวโน้มที่ทารกแรกเกิดจะมีภาวะตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น โดยภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย และมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retro descriptive study) โดยศึกษาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง 1 มิถุนายน พ.ศ.2560 - 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกและมารดา บันทึกข้อมูลภาวะตัวเหลือง และสาเหตุของการเกิดภาวะตัวเหลืองในผู้ป่วย และข้อมูลการกลับมานอนโรงพยาบาลรักษาตัวซ้ำด้วยภาวะตัวเหลืองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา : ทารกแรกเกิดจำนวน 3,480 รายที่คลอดที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดจำนวนทั้งหมด 546 ราย (ร้อยละ 15.6) โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเหลืองพบว่าเกิดจากภาวะทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ (Breast feeding jaundice) มากที่สุด ร้อยละ 55.5 สาเหตุรองลงมา คือเกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร้อยละ 15.7 สาเหตุถัดมา คือ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) ร้อยละ 14.8 สาเหตุตัวเหลืองจากนมมารดา ร้อยละ 7.8 สาเหตุทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 3.1 และเกิดภาวะเหลืองจากทารกแรกเกิดติดเชื้อ ร้อยละ 2.1 ซึ่งทารกทุกรายได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ และไม่มีทารกต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดจากภาวะตัวเหลือง และมีทารกที่ต้องได้รับการนอนโรงพยาบาลเพื่อส่องไฟซ้ำ 42 ราย
สรุป: อุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดพบมากที่สุดคือ การที่ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอในช่วงแรกเกิด รองลงมาได้แก่ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD และหมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน
คำสำคัญ : ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ (Breastfeeding jaundice)
Neonatal jaundice is the most common problems in clinic and International health. Neonatal jaundice trends to rise in the hospital. There have many complications and causes of neonatal jaundice. for developing neonatal jaundice. Neonatal jaundice can prevent and curative.
Objective: Aim to evaluated incidence of neonatal jaundice and determined causes of neonatal jaundice in Phukieochalermprakiat hospital
Material and methods: Neonate with a diagnosis of neonatal jaundice in Phukieochalermprakiat hospital between June 1st, 2017 - May 31th, 2020 were retro descriptive study reviewed. Demographic data, age at onset, blood microbilirubin, cause of neonatal hyperbilirubinemia and re-admission for phototherapy were reviewed and recorded into a standard case record form. Descriptive statistics were reported as frequency and percentage for categorical variables.
Results: A total of 3,480 live births at Phukieochalermprakiat hospital. The prevalence of neonatal jaundice was 546 (15.6%). Cause of neonatal jaundice, 55.5% were Breast feeding jaundice, 15.7% were G6PD deficiency, 14.8% were ABO incompatibility, 7.8% were Breast milk jaundice, 3.1% were Jaundice of prematurity and 2.1% for neonatal sepsis. All neonatal jaundice get phototherapy and no one get blood exchange. Forty-two cases were re-admitted due to neonatal jaundice and needed phototherapy.
Conclusion: The incidence of neonatal jaundice was common found at Phukieochalermprakiat hospital. The most common cause of neonatal jaundice was breast feeding jaundice, G6PD deficiency and ABO incompatibility.
Key words: neonatal jaundice, Breastfeeding jaundice
Downloads
Published
Versions
- 2021-08-13 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-07-19 (1)
Issue
Section
License
Copyright (c) 2021 Chaiyaphum Medical Journal : ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.