This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

ภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 – 12 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลแก้งคร้อ : Anemia in children aged 6 – 12 month in Well Child Clinic at Kaengkhro Hospital

Authors

  • Jatuporn Duangpetsang

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็ก สาเหตุส่วนใหญ่ของโลหิตจางในเด็กเกิดจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะและหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ ส่งผลให้เด็กเติบโตช้า สมาธิสั้น เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพ 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโลหิตจางและผลการรักษาภาวะโลหิตจางด้วยยาน้ำธาตุเหล็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลแก้งคร้อ

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา

วิธีการศึกษาวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเด็กอายุ 6 เดือน – 1 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58 – 30 ก.ย. 59

ผลการศึกษา : พบว่าเด็กอายุ 6 เดือน – 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง 60 จาก 214 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.0 กลุ่มอายุ 9 – 10 เดือน มีภาวะโลหิตจางมากที่สุด 49 คน (31.6%) โดยใช้ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hct) ที่น้อยกว่า 33% เด็กที่มีโลหิตจางมีค่าเฉลี่ยของ Hct เท่ากับ 31 เป็นเพศชายร้อยละ 27.7 เพศหญิง ร้อยละ 26.6 เด็กที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก พบภาวะโลหิตจางมากที่สุด 39 คน (41.9%) กลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักตามมาตรฐานพบภาวะโลหิตจางมากที่สุด 53 คน (32.5%) เด็กอายุ 6 -12 เดือน หลังตรวจพบภาวะโลหิตจาง จะได้รับการรักษาด้วยยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก หลังให้การรักษาด้วยยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเป็นเวลา 1 – 2 เดือน พบมีการเพิ่มขึ้นของ Hct ร้อยละ 58.2 และ Hct เพิ่ม >3% ตามมาตรฐานการรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 18.6 และเด็ก 18 คน (41.8%) ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก โดย 5 คน (11.6%) มี Hct เท่าเดิม และ 13 คน (30.2%) มี Hct ลดลง ซึ่งสะท้อนว่าปัญหาภาวะโลหิตจางที่ควรติดตามและตรวจหาสาเหตุอื่นๆ เช่น ธาลัสซีเมียต่อไป

สรุป : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 – 12 เดือน ในโรงพยาบาลแก้งคร้อ พบมากในกลุ่มอายุ 9 – 10 เดือน, กลุ่มเด็กที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือน และเด็กที่มีน้ำหนักตามมาตรฐาน ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาอื่น ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะโภชนาการของมารดาและภาวะซีดของมารดาต่อไป

Published

2019-07-30

Versions

Issue

Section

Original Article