This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ : The Outcome of Network Development for Diabetic Patients Care at Health Promoting Hospital, Mueang Chaiyaphum District

Authors

  • Arunrat Sunongbua
  • Diana Sripornkitkajorn

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งได้รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อการดูแลแบบใกล้บ้านใกล้ใจและลดความแออัดของโรงพยาบาลชัยภูมิ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี (HbA1C≥7%)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิปี 2559 และปี 2560

วิธีดำเนินการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีกระบวนการพัฒนาโดย การวิเคราะห์ผลการรักษา และปัญหาการดำเนินงานปี 2559, วางแผนการดำเนินงานร่วมกับ รพ.สต., จัดทำแนวทางการดำเนินงาน, แผนการตรวจสุขภาพผู้ป่วย, อบรมบุคลากร รพ.สต.เพื่อพัฒนาความรู้, คืนข้อมูลผล Labประจำปีให้ผู้ป่วย, ให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยด้วย 3อ2ส., แพทย์ออกตรวจพิจารณาปรับยาที่ รพ.สต., มีระบบการปรึกษาแพทย์และปรึกษาปัญหาต่างๆทางไลน์กลุ่ม และโทรศัพท์, มีระบบส่งต่อผู้ป่วย, พัฒนาความรู้ อสม. ส่งเสริมครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานต่อเนื่อง 

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.0 อายุเฉลี่ย 62.3±9.9 ปี อายุต่ำสุด 25 ปี สูงสุด 92 ปี ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 56.0 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2559 = 7.6±1.9% ปี 2560=7.2±1.7% ซึ่งค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2560 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001)

กลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (HbA1C <7%) ในปี 2559 = 643 ราย ร้อยละ 43.2 ปี 2560 =733 ราย ร้อยละ 49.3 ซึ่งปี 2560 มีผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น

กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง (HbA1C³7%) ในปี 2559=845 ราย ร้อยละ 56.8 ในปี 2560=755 ราย ร้อยละ 50.7 ซึ่งมีอัตราลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง (HbA1C³7%) ในปี 2559 พบว่าค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2559=8.9±1.4 % ปี2560 = 8.1 ±1.5 % ซึ่งค่าเฉลี่ยของ HbA1C ลดลงและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001)

                สรุป: การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

Published

2019-07-30

Versions

Issue

Section

Original Article