This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ในการบริหารงานรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลมุกดาหาร : Effects of using the LINE Application in security administration at Mukdahan Hospital

Authors

  • Watcharachai Kunhintang

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานรักษาความปลอดภัยโรงพยาบาลมุกดาหารและเปรียบเทียบผลการบริหารงานก่อนและหลังจากการนำแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) มาใช้ในการบริหารงานรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นตัวแทนบุคลากรทุกแผนก และผู้รับบริการโรงพยาบาล มุกดาหาร โดยการเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 111 คน (ก่อนการใช้ไลน์) และจำนวน 123 คน (หลังการใช้ไลน์) และพนักงานรักษาความปลอดภัย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของครอน-บาค (Cronbach’alpha coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.893 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559  ถึง 30 กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Independent t-test และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการนำแอพพลิเคชั่นไลน์มาใช้บริหารงานรักษาความปลอดภัยทำให้ ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานรักษาความปลอดภัย จาก 3.48 ระดับปานกลาง เพิ่มขึ้นเป็น 3.88 ระดับมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสำหรับตัวพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย และเป็นผู้รับการบริหารงานจากผู้บังคับบัญชาทั้งก่อนและหลังการนำแอพลิเคชั่นไลน์ (LINE) มาใช้ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงาน ก่อนใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ 3.25 ระดับปานกลาง และหลังจากใช้แอพพลิเคชั่นไลน์บริหารงาน รปภ. มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็น 4.91 ระดับมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การบริหารงานควรมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกับการบริหารงานแบบเดิมที่ใช้กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ การให้บริการ การอำนวยความสะดวก และสนองต่อความต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจและมีความสุข

 

Abstract

This action research was aimed at studying security administration at Mukdahan Hospital and comparing the administration outcome before and after using the LINE Application in security administration at Mukdahan Hospital. The sample recipients of security services comprising staff representatives from all departments and hospital services recipients obtained through accidental sampling – 111 informants before using the LINE Application and 123 informants after using it, as well as 12 informants who are security guards themselves all provided the data. The instrument was a questionnaire containing two parts, the general information of the informants and the satisfaction assessment of security services, which had been assured for its index of consistency (IOC) by experts and had a reliability of 0.893 (Cronbach’s alpha). The survey questionnaires were distributed between 1 February to 30  September 2016. The data were analyzed using descriptive statistics (percentage, mean, standard deviation) and inferential statistics (independent t-test and paired t-test).

The results showed the significant improvements before and after using the LINE Application as follows: the recipients’ satisfaction of security services had increased significantly from the moderate level (3.48) to be at the high level (3.88)(p<0.05); the security guards whose duties were to provide security services and respond to administrative commands through the LINE Application had a significantly increased satisfaction of security administration from the moderate level (3.25) to the high level (4.91) (p<0.05).

The findings suggest that information technology devices should be incorporated with traditional approaches to security administration that largely depends on rules, regulations, and prescriptions for security services provision so as to modernize and maximize administration efficiency. They can probably contribute greatly to other services, facilitating and responding to the public needs which will lead to optimal satisfaction and happiness among recipients of hospital services.

Published

2019-07-30

Versions