This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

The development of a nursing practice guideline for children with thalassemia in receiving a blood transfusion in General pediatrics ward, Loei Hospital = การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด หอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย

Authors

  • Piyanan Paithai
  • Pichai Boonmasri
  • Rapeepan Nantana

Abstract

Abstract

     Blood transfusion is an essential treatment for thalassemia children to stop abnormal erythropoiesis and other complications. This study aimed to develop and study the outcomes of a nursing practice guideline for children with thalassemia in receiving a blood transfusion in the General pediatrics ward, Loei Hospital. Besides, The Research and Development  were applied the Deming cycle and the Nursing process to be a framework of the study. This study conducted a 3 month operation period. The participants included 13 nurses in the general pediatric ward and 30 thalassemia patients. Quantitative measurements consisted of 1) Assessment of patient readiness preparation before and after using the guideline questionnaire, 2) Nursing satisfaction questionnaire to practice guidelines. Qualitative measurements were focus group discussion. The quantitative data analysis and compared the data by McNemar's Chi-Square test, Wilcoxon signed ranks test, qualitative data analysis used content analysis. Findings were presented in 2 cycles. The first cycle, situation analysis past 2 years of the incidence, found that there was a blood supply error 2 times. Also, patients got side effects after giving blood were 6 times causing by different practices. This problem came from the knowledge and experience of the nurses. Conclusion, the lack of nursing practice guidelines for clear blood transfusion led to the development of a nursing practice guideline for thalassemia patients who received blood. In the second cycle by analyzing the       results of cycle 1, the study found that the outcomes of both development cycles made the department having clear nursing guidelines for thalassemia patients receiving blood. Nursing behaviors for blood transfusion scores were increased significantly (p = 0.002). Also, nurses were satisfied with guidelines at the significance level (p< 0.001). Patients were evaluated and documented abnormal signs to increase significantly (p = 0.031). Besides, the findings found no incidence of wrong blood given to the wrong people. Therefore, the development of nursing practice guidelines for thalassemia patients who received blood increased nursing quality practice and provided good clinical outcomes for patients.

Keywords: Nursing guideline, Thalassemia in children, blood transfusion.

 

บทคัดย่อ

     ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียส่วนหนึ่งต้องได้รับเลือดอย่างต่อเนื่อง เพื่อยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ การให้เลือดในเด็กมีความยุ่งยากซับซ้อนต้องจัดการในเชิงระบบ จึงนำการวิจัยและพัฒนาตามแนวคิดของเดมมิ่งมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดและศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ระยะดำเนินการ 3 เดือน ผู้ร่วมวิจัยเป็นพยาบาลในหน่วยงาน 13 คน และศึกษาผลลัพธ์ในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย 30 คน เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ McNemar และ Wilcoxon signed rank test การดำเนินการเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มพยาบาล โดยเปิดพื้นที่เรียนรู้ผ่านการประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด นำเสนอผลลัพธ์เป็น 2 วงรอบ ได้แก่ วงรอบที่ 1 จากการทบทวนอุบัติการณ์ย้อนหลัง 2 ปี พบว่ามีการให้เลือดคลาดเคลื่อนทั้งหมู่เลือดและผู้รับ 2 ครั้ง การเกิดอาการข้างเคียงหลังให้เลือด 6 ครั้ง ไม่มารับเลือดตามนัดร้อยละ 10 สาเหตุเนื่องจากขาดแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน ระยะเวลารอคอยนาน  กลุ่มพยาบาลจึงร่วมกันพัฒนาแนวปฏิบัติและลดขั้นตอนบริการ และ วงรอบที่ 2 พบการให้เลือดเร็วกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.5-22.6 สาเหตุจาก เด็กมีกิจกรรมเคลื่อนไหวตลอดเวลา การเฝ้าระวังไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์ แนวทางการแก้ไขได้แก่ การเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างให้เลือด เพิ่มการส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเฝ้าระวัง และจัดทำคู่มือดูแลตนเอง

     ผลลัพธ์จากการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ทำให้หน่วยงานมีแนวปฏิบัติพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดอย่างชัดเจน คะแนนปฏิบัติการพยาบาลครอบคลุมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.001) รวมทั้งกลุ่มพยาบาลมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001) ผู้ป่วยได้รับการประเมินและบันทึกอาการผิดปกติตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.031) นอกนั้นยังพบว่า ค่า Hemoglobin ตั้งแต่ 9 ขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.3 เป็น 45.2 และอัตราการขาดนัดลดลงจากร้อยละ 16.1 เป็น 6.5 ไม่พบอุบัติการณ์ให้เลือดผิดหมู่ผิดคน สามารถให้เลือดภาย 20 นาทีหลังเบิกจากธนาคารเลือดทุกคน และผู้ป่วยได้รับเลือดหมดก่อน 4 ชั่วโมงทุกคน ลดระยะเวลารอคอยก่อนให้เลือดจาก 140 นาที เป็น 40 นาที จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดช่วยเพิ่มความครอบคลุมทางทางการพยาบาลและช่วยให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีกับผู้ป่วย

คำสำคัญ: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย การให้เลือด

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article