This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Risk Factors of Transient Tachypnea of the Newborn in Chaiyaphum Hospital = ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ

Authors

  • Natthawan Suangtho

Abstract

Abstract

     Transient tachypnea of the newborn (TTN) is common problem of respiratory distress in newborn. To study risk factors of TTN, the medical records were reviewed in newborn who delivered at Chaiyaphum Hospital during 1st January to 31st December, 2019. Total of 283 newborns were categorized into 2 groups; TTN (73 cases), and non-TTN (210 cases). 61.64% of TTN group were male, mean (± SD) gestational age was 37+4 (±1.20) weeks, mean (± SD) birth weight was 2,922.43 (±619.74) grams, mean (± SD) length of stay was 5.48 (±2.06) days. 35.64% of TTN group were 1st pregnancy and 36.99% were 2nd pregnancy. 8 cases of maternal diabetes mellitus (DM) were found in TTN group (10.96%). Mode of delivery in TTN group mostly was cesarean section (73.97%) and augmentation was found 21.92%. Maternal DM, cesarean section and length of stay were significant higher in TTN group than non-TTN group (p=0.028, p=0.0016 and p<0.001, respectively). Gestational age and birth weight were significant lower in TTN group than non-TTN group (p<0.001 and p= 0.043, respectively).  Maternal DM, cesarean section and  less than 38 weeks-gestational age were statistically significant factor associated with TTN (p-value < 0.05). Incidence risk ratio of TTN in Maternal DM, cesarean section and  <38 weeks-gestational age were 2.03 times (IRR 2.03, 95%CI=1.23-3.35, p= 0.006), 1.79 times (IRR 1.79, 95%CI=1.13-2.83, p=0.014) and 1.57 times (IRR 1.57, 95%CI=1.04-2.37, p=0.032), respectively.

     In conclusion, the risk factor of transient tachypnea of the newborn in Chaiyaphum Hospital are maternal DM, cesarean section and <38 weeks-gestational age. Mode of delivery and gestational age for elective cesarean section should be considered appropriately. 

Keywords: Transient Tachypnea, Newborn, Risk Factor

 

บทคัดย่อ

     แม้ว่าทารกที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิด (Transient Tachypnea of the Newborn : TTN)  ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่เนื่องจากเป็นภาวะที่พบบ่อย ผู้ป่วยหลายรายต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น สร้างความกังวลใจแก่บิดามารดา และสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษามากขึ้น ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด รวมถึงเงื่อนไขที่อาจช่วยป้องกันภาวะนี้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราว (TTN) จำนวน 73 คน และทารกที่ไม่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราว จำนวน 210 คน ผลการศึกษาพบว่า ทารกกลุ่ม TTN มีอายุครรภ์เฉลี่ยเท่ากับ 37+4 (±1.20) สัปดาห์ เป็นลำดับครรภ์ที่ 1 จำนวน 26 คน (ร้อยละ 35.64) เป็นลำดับครรภ์ที่ 2 จำนวน 27 คน (ร้อยละ 36.99) มารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวาน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 10.96) ทารกเป็นเพศชาย ร้อยละ 61.64 เพศหญิง ร้อยละ 38.36  น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยเท่ากับ 2,922.43 (±619.74) กรัม ส่วนใหญ่คลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด (ร้อยละ 73.97) มีการเร่งคลอด ร้อยละ 21.92 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.48 (±2.06) วัน  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม TTN และกลุ่มที่ไม่เป็น TTN พบว่า ในกลุ่ม TTN มารดามีโรคร่วมเป็นเบาหวาน คลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด และจำนวนวันนอนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น TTN อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.028, p=0.0016 และ p<0.001 ตามลำดับ)  ส่วนอายุครรภ์เฉลี่ยและน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยในกลุ่ม TTN น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น TTN  อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001 และ p= 0.043)  เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธี multivariate analysis พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะ TTN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน การผ่าตัดคลอด และ อายุครรภ์น้อยกว่า 38 สัปดาห์ โดยเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ TTN เป็น 2.03 เท่า (IRR 2.03, 95%CI=1.23-3.35, p= 0.006), 1.79 เท่า (IRR 1.79, 95%CI=1.13-2.83, p=0.014) และ 1.57 เท่า (IRR 1.57, 95%CI=1.04-2.37, p=0.032) ตามลำดับ โดยสรุป ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะ TTN ของทารกแรกเกิดโรงพยาบาลชัยภูมิ คือ มารดาเป็นเบาหวาน การผ่าตัดคลอด และ อายุครรภ์น้อยกว่า 38 สัปดาห์ ดังนั้นการเลือกวิธีคลอดและอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการผ่าตัดคลอด อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะ TTN ได้

คำสำคัญ: ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว, ทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยง

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article