This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

The results of supporting participatory self-management In diabetic patients, Na Fai Subdistrict, Muang District, Chaiyaphum Province = ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Authors

  • Udomchoke Intarachote

Abstract

Abstract

The purpose of  this quasi-experimental research, with one-groups pre-posttest design, were to study the effects of self-management support in diabetic patients with HbA1c> 8% Na Fai Subdistrict, Muang District, Chaiyaphum Province. The sample of this study were 60 cases by purposive sampling among uncontrolled diabetic patients whose HbA1c over 8 % and received continuous treatment at Na Fai Health Promotion Hospital . The research tools included a diabetes self-management program ,such as group  and individual DM knowledge ,set goal of  DM controlled together with  physician ,diabetic food  model, behavior notebook  and  participatory support  by public health volunteers  in 3 months from 1 March to 30 May 2020. Data were collected by interviews about behaviors and blood test for HbA1c at before and after experimental. Data were analyzed with descriptive statistics and analytical statistics by Paired Sample T-Test which significance level at .05.

The results  showed that , means of HbA1c  at  before and after the experiment were 9.80% and 9.53%  respectively , it decrease in  after but not significantly different (p-value = 0.12)  and  34 sample (56.7%)  had  decrease  of  HbA1c . The means  score of  self-care practice before and after the experiment such  as  DM food control, taking medication were increase and significantly different (p-value <0.05), means score of exercise and  DM foot care were increase but  not  significantly different (p-value >0.05) , mean score of  stress relief  was  decrease  and  significantly different (p-value <0.05) .

   Conclusion: Participatory self-management had affected to decrease HbA1c in someone and had affected to increase the self-care practice of diabetic patients. So that, should encourage and empowerment continually about DM self-management in long time.

         Keywords : self-management , diabetic patients

 

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทดลอง (The one group pretest-posttest design)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)> 8 % ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย ที่มี HbA1c >8 % จำนวน 60 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานรายกลุ่มและรายบุคคล  การตั้งเป้าหมายในการควบคุมเบาหวานร่วมกับแพทย์,โมเดลอาหารเบาหวาน, สมุดบันทึกการปฏิบัติตัวและมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงในการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่าง 1 มีนาคม ถึง 30 พฤษภาคม 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยแบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง และตรวจ HbA1c วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Paired  t–test ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของ HbA1c ก่อนการทดลอง = 9.80% หลังการทดลอง = 9.53% ซึ่งหลังการทดลอง HbA1c ลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value = 0.12)  และมีกลุ่มตัวอย่างที่ HbA1c ลดลง จำนวน 34 ราย (ร้อยละ 56.7) ส่วนการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยในการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหารและการรับประทานยา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนด้านการออกกำลังกายและการดูแลมือเท้าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value > 0.05) สำหรับด้านการผ่อนคลายความเครียดพบว่าหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)  

 สรุป การจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมทำให้กลุ่มตัวอย่างบางส่วนมี HbA1c ลดลง และมีผลต่อการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นควรมีการกระตุ้นและส่งเสริมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองระยะยาว อย่างต่อเนื่อง

 คำสำคัญ การจัดการตนเอง ; ผู้ป่วยเบาหวาน

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article