This is an outdated version published on 2021-02-09. Read the most recent version.

Quality of life and Activity of daily living after osteoporotic hip fracture surgery in Aranyaprathet hospital

คุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ

Authors

  • supakrit kijparkorn Aranyaprathet hospital, Sa Kaeo Province

Abstract

Introduction: The aim of this study was to examine quality of life (QOL) and activity of daily living (ADL) in patient who underwent surgery for osteoporotic hip fracture

Method: A retrospective study was conducted, 32 subjects who had osteoporotic hip fracture and underwent surgery in Aranyaprathet hospital during October 2019 – September 2020 were recruited.

This study used general records, early ambulation protocol in all patients after surgery, QOL and ADL questionnaire which was assessed at 6 months after surgery

Results: Of 32 patients who completed the QOL and ADL questionnaire at 6 months after surgery, the mean utility index from QOL score was 0.838 and 90.62% of patients were classified as independent group from ADL score interpretation. In comparison of QOL and ADL score in ambulatory status, results was significantly higher of QOL score (p=0.002) and ADL score (p=<0.001) in successful early ambulation group than non-successful ambulation group.

Conclusion: Most of patients who underwent hip fracture surgery had good utility index and can lived independently at 6 months after surgery. Early ambulation protocol provide beneficial effect on quality of life and activity of daily living after osteoporotic hip fracture surgery

Keywords: Quality of life, Activity of daily living, hip fracture surgery, early ambulation

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ  1) วิธีกระตุ้นให้ยืนเดินหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ภายใน 48 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก และ 3) แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและทางคลินิกจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ในโรงพยาบาล เก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากระดูกสะโพกหักหลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 – กันยายน พ.ศ. 2563

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test  ผลการศึกษา พบว่า

ผลการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน ในมิติทางสุขภาพ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านการดูแลตนเอง ร้อยละ 62.50 รองลงมา คือ อาการเจ็บปวดหรือ อาการไม่สบายตัว  ความวิตกกังวล/ซึมเศร้า และกิจกรรมที่ทำประจำ  ร้อยละ 53.13  53.13 และ 50.00 ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยมีปัญหาเล็กน้อยทางการเคลื่อนไหว ร้อยละ 43.75  และผลการวิเคราะห์คะแนนอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพในภาพรวม เท่ากับ 0.838 (1 หมายถึง สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด)

ผลการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) พบว่า  ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึ่งตนเองได้ ร้อยละ 90.62 รองลงมา คือ กลุ่มที่ดูแลตนเองได้บ้าง ร้อยละ 9.38

ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยกระดูก           สะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกับผลการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัด พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จ ภายใน 48 ชั่วโมงกับกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จหลัง 48 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.002)  และ            ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จ ภายใน 48 ชั่วโมงกับกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จหลัง 48 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value<0.001)

สรุป ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ใกล้เคียงปกติ  และการกระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกยืนเดินหลังผ่าตัดได้สำเร็จภายใน 48 ชั่วโมง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย

คำสำคัญ คุณภาพชีวิต, ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง, ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก,กระตุ้นให้ยืนเดิน

Downloads

Published

2021-02-09

Versions

Issue

Section

Original Article