This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

การประเมินการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพที่ต้องใช้ใบประกอบการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

Drug Use Evaluation Antimicrobial in Inpatient Department Phukhieochalermprakiat Hospital Chaiyaphum Province

Authors

  • ธัญญาพร เกิดศักดิ์ ณ แวงน้อย Department of Pharmacy Phukhieochalermprakiat Hospital Chaiyaphum Province

Abstract

การใช้ยาต้านจุลชีพเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดื้อยาของจุลชีพก่อโรค การใช้ยาไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็นจะส่งผลต่อปัญหาเชื้อดื้อยา เกิดอาการไม่พึงประสงค์ และค่าใช้จ่ายทางยาที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพที่ต้องใช้ใบประกอบการใช้ยา (Drug use evaluation form) ในด้านข้อบ่งใช้ แบบแผนการใช้ยา ระยะเวลาการใช้ยา ผลการรักษา มูลค่าการใช้ยา ปัญหาจากการใช้ยา และประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับผู้ป่วยใน

วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบพรรณนา เก็บข้อมูลไปข้างหน้าในผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติที่ใช้ยาต้านจุลชีพ 6 รายการ ได้แก่ piperacillin/tazobactam, meropenem, vancomycin, colistin, cefoperazone/sulbactam หรือ levofloxacin ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562 โดยประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยากับแนวทางที่กำหนดโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ในด้านข้อบ่งใช้ ขนาดยา การตอบสนองทางคลินิกหลังสิ้นสุดการรักษา ปริมาณและมูลค่ายา รวมทั้งปัญหาจากการใช้ยา การให้คำแนะนำของเภสัชกรและการตอบสนองของแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลในรูปความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา : ยาที่สั่งใช้มากที่สุดคือ tazocin® มูลค่า 734,409 บาท (DDD = 3.18) ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาอย่างสมบูรณ์  ร้อยละ 70.50 ส่วนใหญ่ใช้ยาในการรักษาโรคปอดอักเสบมากที่สุด พบการสั่งใช้ยาแบบ empiric มากที่สุดถึงร้อยละ 61.93 เชื้อที่พบจากมากไปน้อย คือ เชื้อ Acinetobacter baumannii, K.pneumoniae, E.coli และ P.aeruginosa ตามลำดับ พบความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยา ร้อยละ 36.93 โดยยาที่สั่งใช้ไม่เหมาะสมมากที่สุด คือ tazocin®, meropenem และ sulperazone® การตอบสนองของแพทย์ต่อคำแนะนำของเภสัชกร พบว่าส่วนใหญ่ยอมรับและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคำสั่งใช้ยา ร้อยละ 85.63 นอกจากนี้ แพทย์มีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาต้านจุลชีพให้มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบลง (de-escalation therapy) ร้อยละ 22.28 และมีการเปลี่ยนวิธีบริหารยาจากการฉีดเป็นการให้ยาทางปาก ร้อยละ 24.16

              สรุป : จากการสั่งใช้ยาทั้งหมด แม้ว่าการสั่งใช้ยาส่วนใหญ่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนด แต่ยังคงพบปัญหาการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามแนวทางที่กำหนดเกือบ ร้อยละ 40 คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดจึงจำเป็นต้องมีมาตรการกำกับติดตาม ร่วมกับการหาแนวทางการจัดการด้าน Infection Control และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางที่กำหนดจากผู้เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป

 คำสำคัญ : ใบประกอบการสั่งใช้ยา, ยาต้านจุลชีพ, ผู้ป่วยใน

 

Background : Antimicrobial use is an important factor contributing to resistance of pathogens. Improper drug use causes higher mortality in infectious disease patients. At the same time, excessive use of antimicrobial agents will contribute to the problem of drug-resistant infection and rising drug costs as well.

            Objective : To study antimicrobial prescribing characteristics requiring a drug use evaluation form and evaluate the appropriateness of indications, duration, treatment outcome, cost and drug related problem of inpatients.

            Method and material : This study was a descriptive study of prospective drug utilization review. The data were collected from medical record of patients receiving piperacillin/tazobactam (tazocin®), meropenem, cefoperazone/sulbactam (sulperazone®), colistin, vancomycin or levofloxacin during October 2018 to September 2019 in Phukhiao Chalermprakiat Hospital. To determine the nature of drug used, assess the appropriate used, clinical outcome after end of treatment, cost of the drug, drug related problem, pharmacist’s reccomentation and doctor’s responseness. The data were presented in frequency and percentage.

              Result : The most commonly of drug were tazocin® (734,409 bath, DDD = 3.18). Patients were clinically cured from the infection 70.50%. The use of antimicrobials was an empirical therapy (61.93%) and 38.07% had specific therapy, which was used for Acinetobacter baumannii, K.pneumoniae, E.coli and P.aeruginosa, respectively. Inappropriate use of antimicrobial was identified in 36.93% of DUE froms particularly relates to tazocin®,  meropenem and sulperazone®. Doctors accepted to pharmacist’s reccomentation 85.63%, de-escalation therapy 22.28% and switching from IV to oral therapy 24.16%

Conclusion : The appropriateness of drug use was acceptable. However, almost 40% of courses still concerned irrational use. Educational interventions, intensive PTC regulation, infection control management and empowerment of adherence to a strict antibiotic prescribing policy can help significantly to overcome this problem.

 Key word : Drug use evaluation form, antimicrobial, inpatient

Downloads

Published

2021-07-19 — Updated on 2021-08-02

Versions

Issue

Section

Original Article