การตะแคงเตียงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังมีผลเพิ่มระดับ การชาขาข้างที่จะผ่าตัดเมื่อเทียบกับไม่ตะแคงในผู้ป่วยผ่าตัดขาที่ไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างเพื่อให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง
Tilting the operating table to operated side down after spinal block result in increasing anesthetic level compare to non-tilting in lower extremity surgery patient that unable to put operated side down during perform spinal anesthesia
บทคัดย่อ
การให้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลังเป็นการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย เพื่อการผ่าตัดบริเวณช่องท้องส่วนล่างหรือต่ำกว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในท่าตะแคง ใช้ยา Hyperbaric Bupivacaine จะทำให้ข้างที่ตะแคงลงล่างชามากกว่าข้างที่อยู่ข้างบน หากผู้ป่วยไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างขณะให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง อาจทำให้ระดับการชา ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังซ้ำหรือต้องดมยาสลบเพิ่ม
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับการชาของขาข้างที่จะผ่าตัดและไม่ผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ตะแคงเตียงและไม่ตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง
วิธีการวิจัย: ศึกษาวิจัยเชิงทดลองคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized control trial) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดขาในโรงพยาบาลเลยที่เลือกการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังและไม่สามารถตะแคงขาข้างที่จะผ่าตัดลงล่างเพื่อให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ASA class I-II กลุ่มละ 48 คน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2563
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ศึกษาส่วนใหญ่อายุ < 60 ปี กลุ่มทดลอง 79.2% กลุ่มควบคุม 89.6% ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มทดลอง 70.8% กลุ่มควบคุม 77.1% BMI < 25 คิดเป็น 70.8% เท่ากันทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ ASA class I กลุ่มทดลอง 64.6% กลุ่มควบคุม 66.7% ปริมาณยาชาที่กลุ่มทดลอง 2.15±0.26 และกลุ่มควบคุม 2.19± 0.22 ผลลัพธ์ทางคลินิก: การตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังช่วยเพิ่มระดับการชา (Anesthetic level) ขาข้างที่จะผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับการชาเพิ่มขึ้น 68.8% ชาระดับเท่าเดิม 31.3% และเพิ่มระดับการชาได้ 1.85±1.74 ระดับ (p-value < 0.001)
สรุปผล: การศึกษานี้สามารถพิจารณานำการตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังไปใช้เพื่อการเพิ่มระดับการชาขาข้างที่จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างขณะให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังได้
คำสำคัญ: การพลิกตะแคงเตียงผ่าตัด, การเพิ่มระดับการชา
Spinal anesthesia provides analgesia for lower abdomen and lower extremities surgery. Patient received spinal anesthesia in lateral decubitus with hyperbaric bupivacaine, lower side mostly paresthesia more than upper side. If patient unable to put operated side down, result in inadequate anesthesia and we must repeat spinal anesthesia or additional general anesthesia.
Objective: Compare anesthetic level operated and non-operated side in tilt or non-tilt operating table after perform spinal anesthesia.
Methodology: Randomized control trial for lower extremity surgery patient in Loei Hospital who choose spinal anesthesia and unable to put operated side down. ASA class I-II and 48 in each group during 1st Mach-31st December 2020
Result: Mostly age < 60 experimental group 79.2% and control group 89.6%. Mostly are male experimental group 70.8% and control group 77.1%. BMI < 25 70.8% both groups equally. Mostly ASA class I experimental group 64.6% and control group 66.7%. Volume of 0.5% bupivacaine 2.15±0.26 ml in experimental group and 2.19± 0.22 ml in control group.
Clinical outcome: Tilting the operating table to operated side down after spinal block result in significant increasing anesthetic level 1.85±1.74 level (p- value < 0.001). Anesthetic level increasing 68.8% and same level 31.3%.
Summary: From this study we can apply tilting the operating table to operated side down after spinal block in lower extremity surgery patient that unable to put operated side down during perform spinal anesthesia for increasing anesthetic level.
Keyword: Tilting the operating table, increasing anesthetic level
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-13 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-07-19 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.