การประเมินความสมเหตุผลในการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ โรงพยาบาลไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ ชาวสระใคร โรงพยาบาลไชยวาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, แผลสด

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ “การใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ" เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของService plan สาขาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมีเป้าหมายคือ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เกิน ร้อยละ 40 โรงพยาบาลไชยวานได้นำนโยบายพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Service plan: RDU Service plan) มาใช้เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการดื้อยาในอนาคต

วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย และเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์  ประชากรผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2564 จำนวน 598 คน และกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมาทำการศึกษา จำนวน 229 คน

ลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 229 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.95 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 41.05 อายุเฉลี่ย 35.76 ± 23.13 ปี เป็นผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 84.72 ตำแหน่งของบาดแผลที่พบมากที่สุดคือ ขา ร้อยละ 24.00 ส่วนใหญ่เป็นแผลกลุ่มที่ 3 แผลที่มีสิ่งปนเปื้อนและควรได้ยาปฏิชีวนะ พบมากที่สุดคือ บาดแผลสัตว์กัด ร้อยละ 38.43 ความชุกของการใช้ยาปฏิชีวนะเท่ากับ ร้อยละ 48.47 ยาปฏิชีวนะที่ใช้มากที่สุดคือ Dicloxacillin ร้อยละ 53.15 รองลงมาคือ Amoxicillin ร้อยละ 41.44  ระยะเวลาใช้ยาเฉลี่ยคือ 4.66 ± 1.86 วัน ความเหมาะสมของการได้รับยาปฏิชีวนะตามแนวทางการใช้ยาคิดเป็น ร้อยละ 71.62 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะได้แก่ โรค/ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ตำแหน่งแผล ชนิดแผล และ ประเภทแผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ไม่พบการติดเชื้อที่แผล

สรุปผลการวิจัย: ความชุกของการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลไชยวาน ร้อยละ 48.47       ยังเกินเป้าหมาย ส่วนใหญ่เป็นแผลกลุ่มที่ 3 แผลที่มีสิ่งปนเปื้อน และควรได้ยาปฏิชีวนะ มีความสมเหตุผลด้านข้อบ่งใช้ ร้อยละ 71.62 แต่พบความไม่เหมาะสมด้านระยะเวลาใช้ยา ร้อยละ 64.86 และความไม่เหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดยา ร้อยละ 5.41 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดได้แก่ โรคประจำตัวหรือปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ตำแหน่งแผล ชนิดและประเภทแผล ดังนั้นโรงพยาบาลไชยวานยังต้องพัฒนาระบบบริการ การใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด เพื่อความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิง

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2558;p:17-34.

Thamlikitkul V, RattanaumpawanvP, BoonyasirivA, Sirijatuphat R, Jaroenpoj S. Operational Actions of the Thailand Antimicrobial Resistance (AMR) Containment and Prevention Program in Response to the World Health Organization (WHO) Global Action Plan on AMR. Journal of Health Systems Research, 2017;11(4):453-70.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, สมพิศ ปินะเก, สรุศักดิ์ ไชยสงค์. ความสัมพัน์ของปริมาณการใช้ยาและการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 2562;15(2):98-105.

Sirijatuphat R, Choochan T, Siritongtaworn P, Sripojtham V, Thamlikitkul V. Implementation of Antibiotic Use Guidelines for Fresh Traumatic Wound at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai, 2015;98(3):245-52.

Sirijatuphat R, Siritongtaworn P, Sripojtham V, Boonyasiri A, Thamlikitkul V. Bacterial contamination of fresh traumatic wounds at Trauma Center, Siriraj Hospital, Bangkok Thailand. J Med Assoc Thai, 2014;97(Suppl 3):S20-5.

Quinn JV, Polevoi SK, Kohn MA. Traumatic lacerations: what are the risks for infection and has the ‘golden period’ of laceration care disappeared?. Emerg Med J, 2014;31(2):96-100.

Cummings P, Del Beccaro MA. Antibiotics to prevent infection of simple wounds: a meta-analysis of randomized studies. Am J Emerg Med, 1995;13(4):396-400.

พรพิมล จันทร์คุณาภาส, รำไพ บุญญะฤทธิ์, วรนัดดา ศรีสุพรรณ, ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง และนุชน้อย ประภาโศ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี : กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข, 2559.

พิสนธิ์ จงตระกูล. การใช้ยาอย่างสมเหตุผลใน Primary care. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, อนันตเดช วงศรียา,สุรศักดิ์ ไชยสงค์. ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอุบัติเหตุของ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562;13(1):116-24.

ณัฐพล เอโกบล , ศิรินทิพย์ บุญจรัสภิญโญ. การนำแบบประเมินแผลสดเพื่อพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อไปใช้ สำหรับผู้ป่วยนอก .[อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.3.56/APP/SERVICEPLAN/uploads/service14/files/basic-html/page20.html

อธิรัฐ บุญญาศิริ. Antibiotics Smart Use ที่โรงพยาบาล ศิริราช. [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=765

ศิริรัตน์ ไสไทย. สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคบาดแผลสดจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดกระบี่. กระบี่เวชสาร, 2562;2(2):29-35.

พรชนิตว์ หมื่นหน้า, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในแผลจากสุนัขและแมวกัด/ข่วน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2562;11(3):540-51.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29 — อัปเดตเมื่อ 2022-01-05

เวอร์ชัน