การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วาที ดิเรกศร๊ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์  : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลและความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข  กับการปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขของ อสม. ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

วิธีดำเนินงานวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีกลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ในพื้นที่ต.คอนสาร สุ่มตัวอย่างแบบมีขั้น ได้จำกลุ่มตัวอย่างจำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข และ การปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ระยะเวลาที่ทำงานเป็น อสม. อยู่ในช่วง 5-10  ปี และได้รับฝึกอบรมเพิ่มเติม 1 ครั้งต่อปี ผลการศึกษาพบว่าความรู้ที่ตอบถูกต้องมากที่สุดคือ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในภาพรวมแล้วมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข อย่างมีนัยทางสถิติ คือ  เพศ (β = 0.433, P <0.001) ความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (β = 0.245, P <0.001) โดยตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขได้ ร้อยละ 31.40 (R2 = 0.314)   

สรุปอภิปรายผล : การได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และองค์ความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขที่ถูกต้อง จะส่งผลให้การปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอสม.มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงาน อสม.พลังยิ่งใหญ่คนไทยปลอดภัยบริโภค ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2555.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. รายชื่อ อสม. ที่อยู่ในฐานข้อมูล ปี 2565 รายงานตารางรายชื่อและที่อยู่ อสม. และสมาชิกครอบครัวทั้งหมด จำแนกตามตำบล และอำเภอ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00002.php [สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2565]

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎโศรีอุบลราชธานี. 2543.

Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston. 1971.

วีระพงษ์ นวลเนือง. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 2558.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2560;31(1):16-28.

สุพรรณ ธงเทียน. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2554.

สิทธิพร เกษจ้อย. บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 2560; 4(1):163-74.

ธวัชชัย วีระะกิติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2552.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์, นิตยา จันทบุตร, ใจเพชร นิลบารันต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 2562;8(1):1-10.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17