ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปีในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุชิต แสนเภา กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลจัตุรัส

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, วัคซีนโควิด-19, โควิด-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่เด็ก อายุ 6 เดือนถึง 4 ปี ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analysis) ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการตัดสินใจของผู้ปกครองต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.86 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอย ได้แก่ Logistic Regression Analysis

ผลการวิจัย: ผู้ปกครองของเด็ก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.0) อายุเฉลี่ย 29.70 (sd.=8.09) เกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.0) มีความต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กในปกครอง ทั้งนี้ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (Mean = 4.22, sd.=0.52) และการรับรู้เรื่องความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน (Mean = 4.29, sd.=0.51) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกฉีดวัคซีนให้กับเด็กมากที่สุด ผลจากการวิเคราะห์เชิงพหุด้วยสถิติ Multiple logistic regression พบว่า ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด-19 (ORadj=1.71, 95% CI=1.15 – 2.54) และการรับรู้ถึงประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 (ORadj=1.56, 95% CI=1.17 – 2.08) ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กในปกครอง

สรุปอภิปรายผล: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการรับรู้ถึงประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19

เอกสารอ้างอิง

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564;3(1):47-57.

จรัส รัชกุล, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, พุฒิปัญญา เรืองสม, จีรวรรณ หัสโรค์ และโศภิสุดา วิบูลย์พันธุ์. โครงการการประเมินการปฏิบัติตนของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564. กรุงเทพฯ : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. นนทบุรี : กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2564.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย.-อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ฉีดในกลุ่มเด็ก 6 เดือน – น้อยกว่า 5 ปี; ข่าวแจก 159 [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้น เมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://db.oryor.com/databank/data/news/brochure_news/650824_1661349391_%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81_2321.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. “ความมั่นใจของผู้ปกครองต่อการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5 – 11 ปี” . [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้น เมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/150565/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1669968577609.pdf

เสกสันติ์ จันทนะ. ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่เด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี ของผู้ปกครองในเขตตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2566;11(2):193-204.

ยุพเรศ พญาพรหม, หัสญา ตันติพงศ์, พรพรรณ มนสัจจกุล, ศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล, ทรงยศ คำชัย. การยอมรับวัคซีนโควิด 19 จากมุมมองของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน: การวิจัยผสมผสาน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565;49(2):41-54.

ชุติมา บุญทวี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนโคโรนาไวรัส (COVID-19) เข็มกระตุ้นของบุคลากรกลุ่มงานพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสิรมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2565;(2)2:49-60.

ขนิษฐา ชื่นใจ และ บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร.[อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้น เมื่อ 1 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://mmm.ru.ac.th/ MMM/IS/twin9/6214154037.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18