การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ขวัญยืน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, การติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

            วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเฉพาะราย (case study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต และจากแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลตามพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา การประเมินผู้ป่วยโดยใช้ Modified Early Warning Score (MEWS) กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผล

            ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 60 ปี มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง มาด้วยอาการปวดท้อง จุกแน่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน วินิจฉัยโรคเป็น Infective diarrhea with sepsis with septic shock ประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤตโดยใช้ MEWS พบปัญหาการพยาบาลในระยะวิกฤต คือ 1) การกำซาบของเนื้อเยื่อส่วนปลายลดลงเนื่องจากมีภาวะช็อค และ 2) แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้รับการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล และการดูแลรักษาตามแนวทาง CPG SEPSIS: MHALBIS

            สรุป: ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และตามมาตรฐานวิชาชีพ ภายหลังการดูแลผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต มีอาการคงที่ แพทย์พิจารณาให้รักษาตัวต่อในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม หลังการรักษาผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี และได้รับการจำหน่ายกลับบ้านในวันที่ 15 ธ.ค. 2566 รวมระยะเวลาในการดูแลทั้งหมด 8 วัน

เอกสารอ้างอิง

แสงสม เพิ่มพูน. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อค (septic shock). นครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 2563. หน้า 1071-81.

นัยนา ธนฐิติวงศ์. ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย sepsis ที่รับไว้ในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2566;26(1);36-52.

World Health Organization. Sepsis. [internet]. 2023. [cited 2024 Jan 26]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะ sepsis และ septic shock โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต] . [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://49.231.15.21/deptw1/upload/files/medF256210231554379030.pdf

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม 2564;5(9):27-43.

จิรภา ละอองนวล. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2563;29(1):15-24.

วันเพ็ญ ศุภตระกูล, กรรณิการ์ ดอนลาว,

ปานฤทัย มหาวรรณ์. ผลของการใช้ NEWS score เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และสัญญาณเตือนของผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2563;11(1):45-59.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. มาตรฐานการบริการพยาบาลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด. ชัยภูมิ : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2566.

Health Data Center (HDC) [Internet]. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับกระทรวง ปี 2566. กรุงเทพฯ: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2023&source=pformated/format1.php&id=00366a85bd3c2b6932a228df29137252

Health KPI. KPI monitoring ตัวชี้วัดที่ 030: อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired เขตฯ

ปี 2566. [Internet].2566 [เข้าถึงเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=2011&lv=2&z=09&kpi_year=2566

ทิฏฐิ ศรีวิสัย, วิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9(2):152-163.

สมไสว อินทะชุบ, ดวงพร โพธิ์ศรี, จิราภรณ์ สุวรรณศรี. ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560;25(1):85-92.

ณัฐธยาน์ บุญมาก. การพยาบาลฉุกเฉินในภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562;26(1):65-73.

วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์. การใช้ค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมินในการคาดคะเนอัตราการตายในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(2):252-62.

ลัลธริตา เจริญพงษ์, กิตติศักดิ์ ผลถาวรกุลชัย. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(4):542-60.

ปริญญา เรือนวิไล. ไฮโดรคอร์ติโซน วิตามินซี ไทอามีนและฟลูโดรคอร์ติโซน (ค็อกเทลภาวะติดเชื้อ) ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงและมีภาวะช็อค: การศึกษาแบบสุ่มที่มีการควบคุมแบบเปิด. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;29(2):64-77.

พรพรรณ กู้มานะชัย. การรักษาการติดเชื้อในเซ็พสิสและเซ็พติคช็อค. ใน: มณฑิรา

มณีรัตนะพร, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, ศรีสกุล

จิรกาญจนากร. อายุรศาสตร์ทันใจ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560: หน้า 410-4.

นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง, กาญจนา อรรถาชิต และสาหร่าย บุญแสน. ผลการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยการพัฒนา VAP Bundle Care. พุทธชินราชเวชสาร 2561;35(1):31-9.

พรรณวิไล ตั้งกุลพานิชย์, นรเศรษฐ์

อุปริพุทธางกูร, กษมณฑ์ อร่ามวาณิชย์. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหลายระบบการทำนายผู้ป่วยที่มีภาวะจำเป็นต้องได้รับหัตถการกู้ชีพในแผนกฉุกเฉิน. รามาธิบดีเวชสาร 2562;42(3):1-11.

นาตยา บุญสุข. ผลการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์ 2566;10(7):286-96.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28