การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุกิจ พรหมรับ กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งในสตรีไทยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (pap smear) มีความสำคัญในการค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งการรักษาได้ผลดี สามารถรักษาหายขาดได้

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด กับอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเพื่อเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ ในกลุ่มศึกษา ก่อนและหลังดำเนินการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด

วิธีการศึกษา  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) ศึกษาในพื้นที่ตำบลนาฝายและตำบลลาดใหญ่  อำเภอเมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มศึกษา 112 คนจากตำบลนาฝาย ซึ่งใช้กลยุทธ์ทางการตลาด กลุ่มเปรียบเทียบ 78 คน จากตำบลลาดใหญ่ ดำเนินตามวิธีปกติ ระยะเวลาการศึกษา 1-31 มีนาคม 2560  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ด้านความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค ด้านความรู้เท่ากับ 0.75 ความเชื่อด้านสุขภาพเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา  แจกแจงความถี่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ ด้วย Paired t-test และ  Independent t –test 

ผลการศึกษา  กลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด เข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 62.93 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 17.77  ซึ่งกลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด มีอัตราการเข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังดำเนินการในกลุ่มใช้กลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า หลังดำเนินการค่าเฉลี่ยของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกมีค่าสูงขึ้น  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดสามารถกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น     จึงควรนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ในการกระตุ้นการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในทุกพื้นที่ และการสื่อสารให้ข้อมูลควรทำหลายๆรูปแบบ เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง การจัดกิจกรรมต้องสะดวกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การตรวจที่ รพ.สต.และการออกหน่วยตรวจเคลื่อนที่ ในช่วงเวลาเลิกงาน เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

สำนักนโยบายและแผนพัฒนากระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559 .เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/ [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559]

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2547). แผนการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : รำไพ เพรส.

Joseph R, Manosoontorn S, Petcharoen N, Sangrajrang S, Senkomago V, and Saraiya M. (2010). Assessing Cervical Cancer Screening Coverage Using a Population-Based Behavioral Risk Factor Survey-Thailand. J Womens Health (Larchmt), 24(12):966-8.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2559). ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร(HDC). เข้าถึงได้จาก http://www.161.115.22.73/smartoffice/index.php?r=home/gofirst [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559]

จิตรบรรจง เชียงของ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

พุฒิตา พรหมวิอินทร์, โยทะกา ภคพงศ์, และ มยุรี นิรัตธราดร. (2558). การเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ.พยาบาลสาร, 42(3):84-90.

วันเพ็ญ บุญรอด. (2558). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: กรณีศึกษาตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารราชนครินทร์, 12(27):153-60.

เรไร สูงยิ่ง. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, และคณะ. (2557). Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์ไทย 2554-2557) First Edition. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

Benjamin S. Bloom. (1986). ‘Lerning for mastery’ Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles, l2:47-62.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-26

เวอร์ชัน