คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่่ในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ สุฐิติวนิช หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, สูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่มารับบริการในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ  วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกบุหรี่ กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่รับบริการที่คลินิกอดบุหรี่ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 30 ธันวาคม 2560  จำนวน 120 คน  ซึ่งสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้เข้าใจ และยินยอมเข้าร่วมงานวิจัย โดยสุ่มจากผู้ป่วยแบ่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกบุหรี่ได้ กับผู้ป่วยสูบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ไม่ได้ กลุ่มละ 60 คน การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทย ฉบับปรับปรุง เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต   การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติ Chi-square และสถิติ Independent t-test 

ผลการศึกษา พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยรวม และรายมิติดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกบุหรี่กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยังสูบบุหรี่ พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ได้ในมิติต่างๆในด้านการรับรู้สุขภาพ การทำงานด้านร่างกาย ข้อจำกัดเนื่องจากปัญหาทางร่างกาย ปัญหาทางด้านอารมณ์ การทำงานทางสังคม สุขภาพจิตทั่วไป การมีชีวิตและการรับรู้สุขภาพทั่วไปมีผลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยไปใช้ ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดูแล, ติดตามผลครบ 1 ปีและทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น รวมทั้งการทำงานเชิงรุกในการรณรงค์ป้องกันในชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ

เอกสารอ้างอิง

รัชนา สานติยานนท์, บุษบา มาตระกูล, และ กาญจนา สุริยะพรหม. (2550). พิษภัยบุหรี่. สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (บรรณาธิการ). ตำราวิชาการสุขภาพการควบคุมการบริโภคยาสูบ : สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ : เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ : 145-74.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย พ.ศ. 2551. กลุ่มสถิติสังคม สำนักสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2550). สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (บรรณาธิการ). ตำราวิชาการสุขภาพการควบคุมการบริโภคยาสูบ : สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ : เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ : 1-4.

สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา. (2550). การบริหารยางดบุหรี่และสารนิโคตินทดแทน. สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (บรรณาธิการ). ตำราวิชาการสุขภาพควบคุมการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพฯ : เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ : 493-517.

สุปาณี เสนาดิสัย, สุรินธร กลัมพากร. (บรรณาธิการ). (2555). บุหรี่กับสุขภาพ : พยาบาลกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพฯ : เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย : 35-40.

อารยา ทองผิว และคณะ. (2559). คู่มือเวชปฎิบัติ สำหรับการบำบัดโรคเสพยาสูบในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์ : 134-150.

ประมุข มุทิรางกูร, และคนอื่นๆ. (2550). ภาวะขาดเลือด. ในหนังสือประกอบการประชุม 90 ปีศัลยศาสตร์ ศิริราช ภาควิชาศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ: สำนัก พิมพ์กรุงเทพเวชสาร : 57-77.

ธิติมา ศิริมาตยาพันธุ์, ภัทราวุธ อินทรกำแหง, และ สมเกียรติ เหมตะศิลป. (2549). ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เอสเอฟ 36 ฉบับภาษาไทย ในการประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 16(1):10-6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26