This is an outdated version published on 2019-07-31. Read the most recent version.

การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ : Development of the risk assessment model for adolescent pregnancy, Banthaen District, Chaiyaphum Province

ผู้แต่ง

  • สมคิด สันวิจิตร Somkid Sunvijit
  • วิมลรัตน์ บริสุทธิ์ Wimornrat Borerisuit
  • นารีรัตน์ ผานาค Nareerat Phranak
  • วาสนา ละครศรี Wassana Lakornsri
  • วาสนา นิลโอโล Wassana Ninolo
  • เพ็ญศรี ประสมเพชร Pensri Prasompej
  • ศศิรินทร์ กระสินธุ์หอม Sasirin Kasinhom
  • รัชนีพรรณ โสดาวรรณ Ratchaneepan Sodawan

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ และเพื่อพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักคือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 10 คน ผู้ให้ข้อมูลรองคือสามีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 10 คน ในการมาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลบ้านแท่น เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559 ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะแรกมีการรวมกลุ่มวัยรุ่นหญิง มีสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม มีการแต่งตัวที่เป็นจุดเด่น ระยะที่สอง มีเพื่อนชายเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม เกิดการแยกเป็นกลุ่มย่อย บางคนพูดน้อยลง มีการออกเที่ยวตอนกลางคืน เริ่มพูดคุยถึงเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ สอบถามหาแหล่งขายยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย และจากการนำใช้แบบประเมินพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 3 ราย พบว่า ข้อที่พบความถี่มากตามลำดับ คือ การแต่งตัวให้เป็นจุดเด่น การออกเที่ยวตอนกลางคืน หาแหล่งขายยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และสุดท้ายการหาความรู้เรื่องการตั้งครรภ์จากอินเตอร์เน็ต จากข้อมูลนำสู่การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แบบประเมิน เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 15 ข้อ ทดลองใช้ในกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.85         

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประสบการณ์ชีวิตก่อนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะต้องมีกลุ่มเพื่อนหรือมีเพื่อนสนิท มีสัญลักษณ์ของกลุ่ม การแต่งตัวที่เป็นจุดเด่น มีเพื่อนชาย แยกตัวออกจากกลุ่ม ออกเที่ยวตอนกลางคืน หาแหล่งขายยาคุมกำเนิด หาความรู้ในการตั้งครรภ์  จากข้อค้นพบนำสู่การพัฒนาเป็นแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจำนวน 15 ข้อ เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง และป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพื้นที่ ทดลองใช้แบบประเมินในกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.85         

ข้อจำกัดจากการศึกษาเป็นข้อมูลเฉพาะบริบทพื้นที่เท่านั้น ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาต่อในด้านการประเมินผลในการนำใช้แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31

เวอร์ชัน