การสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน: กรณีรถบัสบรรทุกนักเรียนเสียหลักตกร่องน้ำบริเวณถนนทางหลวงสายชัยภูมิ-แก้งคร้อ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • โรจกร ลือมงคล โรงพยาบาลคอนสวรรค์
  • สุวัฒนา วงษ์ปฏิมาพร สาธารณสุขอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การสอบสวน, การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน, รถบัส, คอนสวรรค์

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของอำเภอคอนสวรรค์ได้รับแจ้งข่าวเหตุการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนเกี่ยวกับรถบัสบรรทุกนักเรียน และคณะครูจากโรงเรียนโคกม่วงศึกษา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งไปทัศนศึกษาเสียหลักตกถนนลงร่องน้ำบริเวณถนนทางหลวงสายชัยภูมิ-แก้งคร้อ ในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จึงได้ดำเนินการสอบสวนการบาดเจ็บในวันที่ 18 มีนาคม 2560 เพื่อค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บในครั้งนี้ โดยใช้การศึกษาเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่นำไปสู่การบาดเจ็บด้วยวิธีการของ Haddon matrix ผลการสอบสวนพบว่า รถบัสคันนี้บรรทุกผู้โดยสารทั้งหมด 46 คน มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ 38 ราย อวัยวะภายในร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ ใบหน้า ร้อยละ 28.9 ศีรษะ ร้อยละ 26.3 และขาขวา ร้อยละ 15.8 ตามลำดับ เจ้าหน้าที่กู้ชีพนำผู้บาดเจ็บส่งไปรักษาในโรงพยาบาล 3 แห่ง ซึ่งทั้งหมดได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บในครั้งนี้ประกอบด้วย ความบกพร่องของยานพาหนะ สภาพถนนที่ชำรุด การขาดไฟส่องสว่างบนถนน และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

มาตรฐานด้านความปลอดภัยสำหรับการตรวจสภาพรถบัสควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในระบบของการตรวจสภาพยานยนต์ นอกจากนั้นแล้ว การบำรุงรักษาถนนหนทาง และการปรับปรุงให้มีไฟส่องสว่างบนถนนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำไปสู่การป้องกันปัญหาเหล่านี้ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

ตำรวจไทย. ไทยอันดับ 2 ของโลก ตายจากอุบัติเหตุจราจร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://thaicop.blogspot.com/2016/11/2.html (2560, 17 กรกฎาคม)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. (ม.ป.ป.). คู่มือการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด. (2559). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ประเทศไทยปี 2557 (Thailand National Status Report on Road Safety 2014). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

Greenspan L, Mclellan BA, Greig H. (1985). Abbreviated Injury Scale and Injury Severity Score: a scoring chart. J Trauma, 25(1):60-64.

Civil ID, Schwab CW. (1998). The Abbreviated Injury Scale, 1985 revision: a condensed chart for clinical use. J Trauma, 28(1):87-90.

กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2550). คู่มือการใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐกานต์ ไวเนตร. (2549). คู่มือสอบสวน สาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน. นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-27

เวอร์ชัน