การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้ระบบทางด่วน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รัศมี ชารีวรรณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ระบบทางด่วน, การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารักษาโรงพยาบาลชัยภูมิ ด้วยระบบทางด่วน  ดังนี้ ผู้ป่วยหญิงไทย 77 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว มาโรงพยาบาลโดยรถ EMS (Emergency Medical Services) อาการสำคัญ คือ ปากเบี้ยวด้านซ้าย แขนขาซ้ายอ่อนแรง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1ชั่วโมง 40 นาที การวินิจฉัยแรกรับคือ Stroke Fast Track แพทย์ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการรักษา ให้ญาติลงชื่อยินยอมฉีดยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยได้รับยา rt-PA ที่ห้องฉุกเฉิน ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน (Clinical Practice Guidelines for Ischemic Stroke) พบปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจากการดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน ดังนี้ 1)เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) 2) เสี่ยงต่อภาวะความดันกะโหลกศีรษะสูง 3)เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 5) ญาติมีความเครียดและวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วย

สรุปกรณีศึกษา และข้อเสนอแนะจากการศึกษา: ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เมื่อพยาบาลศูนย์สั่งการได้รับแจ้งจากญาติว่ามีผู้ป่วยปากเบี้ยวด้านซ้าย แขนขาซ้ายอ่อนแรง เข้าเกณฑ์โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน (Stroke Fast Track) จึงได้แจ้งทีมกู้ชีพ ออกไปรับผู้ป่วยทันที พร้อมแจ้งอาการเบื้องต้น ว่าเข้าเกณฑ์ Stroke Fast Track การรับแจ้งทางโทรศัพท์ การประเมินอาการทางโทรศัพท์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลที่ศูนย์สั่งการผู้ปฏิบัติควรมีประสบการณ์และมีองค์ความรู้ที่ดี ในการรับแจ้งเหตุ ข้อดีของการใช้ระบบทางด่วน คือ รวดเร็ว ผู้ป่วยปลอดภัย ข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาผู้ป่วยรายนี้ ที่พบคือ องค์ความรู้การประเมินอาการผู้ป่วยทางโทรศัพท์ (Telephone Triage) ของพยาบาลศูนย์รับแจ้งเหตุ และองค์ความรู้ทีมกู้ชีพชุมชนในการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น เป็นสิ่งที่สำคัญ ในผู้ป่วยรายนี้เมื่อประเมินอาการทางโทรศัพท์ได้รวดเร็ว แจ้งหน่วยกู้ชีพชุมชนออกไปรับผู้ป่วยทันที ทำให้ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์, สมศักดิ์ เทียมเก่า, [บรรณาธิการ]. (2561). การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเวชปฏิบัติ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2563. [ออนไลน์]. http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Health%20KPI%2063.pdf [สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2563]

เกรียงศักดิ์ ลิ้มพัสถาน. (2553). โรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่ : หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉง นิลบุหงา. (2561). ระบบประสาทและการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มีชัย ศรีใส. (2554). ประสาทกายวิภาคศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2563). ข้อมูลสถิติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิ : ศุนย์ข้อมูลและสถิติโรงพยาบาลชัยภูมิ.

กรมการแพทย์. (2558). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป (ฉบับสมบูรณ์ 2558). กรุงเทพฯ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน