ศึกษาลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิติจิตต์ อังสุพันธุ์โกศล กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

อัตราการรอดชีวิต, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน, ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, รถฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์: ศึกษาลักษณะและอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

รูปแบบและวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยศึกษาย้อนหลังข้อมูลจากเวชระเบียนคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นและได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึง กันยายน 2562

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 104 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59 ปี ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลร้อยละ 87.5 ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นขณะรับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินร้อยละ 12.5, อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ช่วยฟื้นคืนชีพที่ห้องฉุกเฉินร้อยละ 41.9, อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะรักษาที่ห้องฉุกเฉินมากกว่าหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, นำส่งโรงพยาบาลโดยรถฉุกเฉินออกรับร้อยละ 47.1, ได้รับการกดนวดหัวใจโดยคนใกล้ชิดก่อนรถฉุกเฉินออกรับมีเพียงร้อยละ 15,  ได้รับการกดนวดหัวใจในที่เกิดเหตุก่อนรถฉุกเฉินออกรับอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 64.3,  กลุ่มได้ยาอะดรีนาลีนตั้งแต่นอกโรงพยาบาลอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 52.9,  ระยะเวลากดนวดหัวใจในห้องฉุกเฉินและปริมาณยาอะดรีนาลีนที่ใช้บ่งบอกถึงอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย, สาเหตุของหัวใจหยุดเต้นมากที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 38.5, ระบบทางเดินหายใจ มีอัตราการรอดชีวิตมากสุด

สรุปผล: ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกดนวดหัวใจเบื้องต้นทันทีจากคนใกล้ชิด รถฉุกเฉินทางการแพทย์ การได้ยาอะดรีนาลีนและการกดนวดหัวใจให้เร็วที่สุดโดยคนพบเห็นเหตุการณ์เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

Mozaffarian D, Benjamin EJ, Go AS, Arnett DK, Blaha MJ, Cushman M, et al. (2016). Executive Summary:Heart Disease and Stroke Statistics--2016 Update: A Report From the American Heart Association. Circulation, 133(4):447-54.

Chan PS, Berg RA, John A. Spertus, Lee H. Schwamm, Deepak L. Bhatt, Gregg C. Fonarow, et al. (2013). Risk-Standardizing Survival for In-Hospital Cardiac Arrest to Facilitate Hospital Comparisons. J Am Coll Cardiol, 62(7): 601–9.

Veronese JP, Wallis L, Allgaier R, Botha R. (2018). Cardiopulmonary resuscitation by Emergency Medical Services in South Africa: Barriers to achieving high quality performance. Afr J Emerg Med, 8(1):6-11.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Meaney PA, Bobrow BJ, Mancini ME, Christenson J, de Caen AR, Bhanji F, et al. (2013). Cardiopulmonary resuscitation quality: [corrected] improving cardiac resuscitation outcomes both inside and outside the hospital: a consensus statement from the American Heart Association. Circulation, 128(4):417-35.

Kunkongkaphan M, Janphan T. (2015). Characteristics of cardiac arrest patients and factors associated with return of spontaneous circulationsuccess at the emergency department Maesai Hospital Chiang Rai province. Nursing Public Health and Education Journal, 16(1):53-66.

วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1):15-23.

Tantarattanapong S, Wuthisuthimethawee P. (2020). Success Rate and Predictors of Adult Cardiopulmonary Resuscitation at the Emergency Room in a University Hospital. J Med Assoc Thai, 103(5):481-7.

Krittayaphong R, Saengsung P, Chawaruechai T. Factors Predicting Outcome of Cardiopulmonary Resuscitation in a Developing Country: The Siriraj Cardiopulmonary Resuscitation Registry. J Med Assoc Thai, 92(5):618-23.

ประไพ บรรณทอง, พัชรี พงษ์พานิช, ณัฐภร ประกอบ. (2560). การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เข้ารับบริการในหน่วยงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. ชัยนาท : โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.

สุรภา ขุนทองแก้ว. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(1):30-44.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน