การพัฒนาแบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มประชาชน

ผู้แต่ง

  • ถนอม นามวงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ประชาชน, การพัฒนาแบบคัดกรอง, ความตรง, ความเที่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มประชาชน ให้มีความตรงและความเที่ยงที่ยอมรับได้ ตัวอย่างคือประชาชนในชุมชน อายุ 26 ปีขึ้นไป ในจังหวัดยโสธร ขั้นตอน การวิจัยเริ่มจากการรวบรวมแนวคิด กำหนดนิยาม และตัวบ่งชี้พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จาก การทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และการสนทนากลุ่มแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อ 4 คน นำแบบคัดกรองฉบับร่างไปทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ทดสอบความเข้าใจด้านภาษา แล้ว นำไปทดลองเก็บข้อมูล ในตัวอย่าง 30 คน แล้วประเมินความเที่ยงประเภทความสอดคล้องภายใน จากนั้นนำไปคัด กรองในชุมชน 1,285 คน ผลการศึกษา ได้แบบคัดกรองมีคำถาม 12 ข้อ ค่า CVI รายข้อ อยู่ระหว่าง 0.83 ถึง 1.00 ค่า CVI รวมเท่ากับ 0.99 ค่าแอลฟ่ าเท่ากับ 0.67 คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงของแบบคัดกรองได้จากตัวอย่างมีค่า ระหว่าง 0-9 คะแนน โดยคะแนนสูงหมายถึงมีความเสี่ยงสูง จุดตัดของคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อทำนายการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบว่า พื้นที่ใต้โค้ง ROC (receiver operating characteristic) เท่ากับร้อยละ 79.20 (95%CI= 69.10-89.20) ที่จุดตัด 2 คะแนน มีค่าความไว ร้อยละ 83.30 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 63.90 ค่าความถูกต้อง ร้อยละ 64.10 สรุปว่า แบบคัดกรองนี้ มีความตรงและความเที่ยงในระดับที่ยอมรับได้ บุคลากรสาธารณสุขสามารถ นำไปประเมินหรือคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มประชาชนในชุมชนได้ ทั้งนี้ ควรมี การนำแบบคัดกรองนี้ไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้ าหมายอื่นๆ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้