การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง: การดูแลแบบไร้รอยต่อเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาท

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี จาบประไพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • บุญสืบ โสโสม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • สุนันทา เตโช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, รูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, การดูแลแบบไร้รอยต่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ไร้รอยต่อ ของเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาท ศึกษาระหว่าง กรกฎาคม 2562 – เมษายน 2563 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ 41 คน ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 31 คน และผู้ดูแลหลัก 31 คน ระยะที่ 1 ของการศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วย-มะเร็งระยะสุดท้าย ความต้องการการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ระยะที่ 2 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข และสรุปเป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประ-คับประคองไร้รอยต่อ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนการดูแล (2) การดูแลประคับประคองแบบองค์รวมโดยใช้แนวคิด LIFESS (3) การจัดการดูแลในวันสุดท้ายของชีวิตร่วมกับศูนย์การดูแลต่อเนื่อง (continuity of care) ในเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาท ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ โดยใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care outcome scale: POS) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแล และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย POS ก่อนการดูแลกับวันที่ 5 ที่ได้รับการดูแลพบว่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ดูแล และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีต่อรูปแบบบริการอยู่ในระดับมาก (Mean=4.17, SD=2.11 และ Mean=4.14, SD=0.007 ตามลำดับ) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจนถึงชุมชน โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีม ความมุ่งมั่น และความเข้มแข็งของเครือข่าย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ